เจ้าของบ้าน VS เจ้าบ้าน ต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจจะสับสนระหว่างสถานะการเป็น “เจ้าของบ้าน” กับ “เจ้าบ้าน” เพราะแค่ฟังชื่อก็ดูจะคล้าย ๆ กัน แต่ความเป็นจริงแล้ว สถานะทั้ง 2 อย่างนี้ต่างกันอย่างชัดเจน และด้วยความต่างกันอย่างชัดเจนนี่เอง ที่ทำให้ผลลัพธ์ของสถานะทั้ง 2 แตกต่างกัน โดยในส่วนของกฎหมาย สถานะที่ต่างกัน ความเป็นเจ้าของ และกรรมสิทธิ์อื่น ๆ ก็จะต่างกันไปด้วย

ความแตกต่างระหว่าง “เจ้าของบ้าน” กับ “เจ้าบ้าน”

ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “เจ้าของบ้าน” กับ “เจ้าบ้าน” นั้น เราต้องทำความรู้จักความหมายของแต่ละคำนี้ก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจความหมายแต่ละสถานะและนำมาเทียบกันให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เจ้าของบ้าน

เจ้าของบ้าน คือ เจ้าของบ้านที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินนั้น หรืออาจจะเป็นเพียงแค่เจ้าของ “บ้าน” ที่ไม่รวมถึงพื้นที่ที่ดินก็ได้ เพราะบางครั้งเจ้าของที่ดินกับเจ้าของบ้านอาจเป็นของเจ้าของคนละคนกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินเป็นของแม่เรา และแม่เราอนุญาตให้ลูกชายปลูกบ้านไว้อยู่กับภรรยา เมื่อลูกชายปลูกบ้านอยู่กับภรรยาของเขา ที่ดินบริเวณนั้นก็ยังเป็นของแม่เขาอยู่ แต่บ้านที่ลูกชายเป็นผู้ปลูก ลูกชายก็ยังคงเป็นเพียงเจ้าของบ้านเท่านั้น ส่วนที่ดินยังเป็นของแม่เขาอยู่ 

 

หรืออีกกรณีคือ ทั้งที่ดินและบ้านเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สังเกตได้จากด้านหลังโฉนดจะปรากฏว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งนี่คือสิ่งที่แสดงความเป็นเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมาย

เจ้าบ้าน

เจ้าบ้าน คือ เจ้าบ้านที่มีหน้าที่ควบคุม ดูแล และทำหน้าที่ปกครองบุคคลที่อยู่ในบ้าน ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าเราสังเกตสถานะในทะเบียนบ้าน จะเห็นได้ชัดเลยว่ามีการระบุสถานะของแต่ละบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอย่างชัดเจน โดยในทะเบียนบ้านจะมี 2 สถานะ คือ

 

  1. เจ้าบ้าน 
  2. ลูกบ้าน

 

ซึ่งสถานะที่แตกต่างกันนี้ ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่แตกต่างกันด้วย โดยเจ้าบ้านคือผู้ที่ปกครอง ดูแล บุคคลที่อยู่ในบ้าน ซึ่งตามกฎหมายแล้วหากมีการดำเนินการใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับบ้านหลังนี้ ก็จะต้องได้รับความยินยอมหรือมีการขออนุญาตจากผู้เป็นเจ้าบ้านก่อน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ คือ กรณีที่มีโจรหนีเข้าไปในบ้านของเรา ตำรวจก็จะต้องขออนุญาตจากเจ้าบ้านเสียก่อน จึงจะสามารถเข้าไปในบ้านหลังนั้นเพื่อตามหาตัวโจรได้ ซึ่งคนที่เป็นเจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของบ้านก็ได้ เพราะคนที่เป็นเจ้าของบ้านอาจซื้อบ้านไว้แล้วไม่ได้อยู่เอง และให้คนอื่นอยู่ดูแลบ้านให้ และให้ใส่ชื่อเป็นเจ้าบ้านไว้ เป็นต้น

 

ดังนั้นความแตกต่างระหว่าง “เจ้าของบ้าน VS “เจ้าบ้าน” มีความแตกต่างกันในเรื่องของกฎหมาย ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของบ้านกับเจ้าบ้านก็จะแตกต่างกัน เพราะผู้ที่มีอำนาจ มีสิทธิที่จะทำการขายบ้าน จำนอง จำนำ บ้านหลังนั้นได้ก็ต้องเป็นเจ้าของบ้านเท่านั้นที่จะดำเนินการได้ ส่วนเจ้าบ้านไม่สามารถดำเนินการได้ หากไม่ใช่เจ้าของบ้าน เพราะการดำเนินการจำหน่าย จ่าย โอน บ้าน จะต้องเป็นคนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายเท่านั้น

เมื่อเห็นข้อแตกต่างระหว่างเจ้าของบ้านและเจ้าบ้านแล้ว ทีนี้เราก็จะได้เข้าใจถึงสถานะของทั้ง 2 อย่างที่แตกต่างกัน และรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ที่จะบังคับกันได้ตามกฎหมาย เป็นข้อควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของบ้านและเจ้าบ้านแล้ว 

บทความที่คุณอาจสนใจ

อ่านเพิ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

more
Sidebar
TIK TOK
รีวิวโครงการ
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย วิลล์ ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้าน Design ใหม่ พื้นที่ใหญ่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทุก Lifestyle เป็นส่วนตัวเพียง 66 แปลง ส่วนกลางครบครัน บนทำเลที่โดดเด่น โซนปิ่นเกล้า-ศาลายา
Sponsor
รีวิว บ้านกรีนเฮ้าส์ รังสิต สเตชั่น-ซ.เวิร์คพอยท์ คอนโดแนวคิดใหม่ สไตล์ทาวน์โฮม 2 ชั้น 2 นอน 2 น้ำ บนทำเลรังสิต-ปทุมฯ ใกล้ทางด่วนฯ, โทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต
Sponsor
รีวิว นิรติ ดอนเมือง (NIRATI DONMUEANG) บ้านและทาวน์โฮม NEW SERIES 2.5 ชั้น พร้อมส่วนกลางกว่า 4 ไร่* ที่สุดของทำเลศักยภาพ เพียง 5 นาที* ถึงสนามบินดอนเมือง
Sponsor
Loading..