รายได้รวมทั้งไตรมาส 37 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ และมีกำไร Adjusted EBITDA อยู่ที่ 5 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์
- รายได้รวมทั้งหมดเติบโตขึ้น 12% มาอยู่ที่ 37 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ในขณะที่รายได้รวม โดยที่ไม่รวมรายได้จากประเทศเวียดนามเติบโตขึ้นถึง 22%
- ปัจจัยที่ทำให้ผลกำไร Adjusted EBITDA มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 113% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วก็คือ การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพของกรุ๊ป
- ผลกำไร Adjusted EBITDA เติบโตมาอยู่ที่ 5 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 129 ล้านบาท) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 แสนสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 7.8 ล้านบาท)
พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป จำกัด หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE คือ PGRU) (จากนี้จะเรียกว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรู” หรือ “บริษัท”) บริษัทเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (“PropTech”) และเป็นบริษัทแม่ของ 2 เว็บไซต์ด้านอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย ได้แก่ DDproperty.com แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาฯ อันดับ 1 ของประเทศ และ thinkofliving.com เว็บไซต์รีวิวโครงการอสังหาฯ ชั้นนำของประเทศ ประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ในวันนี้ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทมีรายได้รวม 37 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 956 ล้านบาทเมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2566) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 12% ผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 6 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 155 ล้านบาท) และมีผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาที่ปรับแล้ว (Adjusted EBITDA) เป็นบวกอยู่ที่ 5 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 129 ล้านบาท) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้นำมาเทียบกับรายได้สุทธิของไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 4 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 104 ล้านบาท) และผลกำไร Adjusted EBITDA ที่เป็นบวกมูลค่า 3 แสนสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 7.8 ล้านบาท)
ความเห็นจากผู้บริหาร
นายแฮร์รี่ วี. คริชนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า “พร็อพเพอร์ตี้กูรูโชว์การเติบโตของรายได้ที่ดีในช่วงไตรมาสที่สองนี้ ซึ่งเป็นการเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักทั้งในส่วนของรายได้ และมาร์จิ้นของ Adjusted EBITDA สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเราท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการที่เราเลือกโฟกัสในการลงทุน และดำเนินธุรกิจอย่างรัดกุม แม้ว่าจะมีความท้าทายในทางเศรษฐกิจมหภาคในเวียดนามที่ยังส่งผลอยู่ ซึ่งรัฐบาลได้เข้าแทรกแซงภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงความความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการตัดสินใจซื้อ-ขายในตลาดอย่างชัดเจน เราเน้นการนำประโยชน์จาก AI มาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชั้นนำของตลาด และในขณะเดียวกันเรายังหมั่นปรับปรุงคุณภาพในเรื่องของการเขียนโค้ด และการสร้างสรรค์ด้านวิศวกรรมของเรา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้เปิดตัว GuruPicks ซึ่งเป็นโซลูชั่นในการคัดกรองประกาศอสังหาริมทรัพย์แบบอัตโนมัติที่ตรงตามความต้องการของแต่ละผู้ใช้ โดยใช้การเรียนรู้แบบอัลกอริทึ่ม และได้มีการอัปเกรดซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการตรวจสอบรูปภาพด้วย AI เพื่อให้ประกาศบนแพลตฟอร์มของเรามีคุณภาพยิ่งขึ้น
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เราได้ทำการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ครั้งสำคัญ นั่นคือการประกาศถอนธุรกิจมาร์เก็ตเพลสภายใต้แพลตฟอร์ม Rumah.com ออกจากประเทศอินโดนีเซีย และปิดตัวผลิตภัณฑ์ ฟาสต์คีย์ (FastKey) ที่เป็นซอฟต์แวร์บริการลง เรายังรีวิวขั้นตอนต่าง ๆ ในทางธุรกิจ และดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อปรับทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำนี้ สอดคล้องกับแนวทางที่เราใช้เวลาในการพิจารณาอย่างระมัดระวัง เพื่อโฟกัสการลงทุนในธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตที่มีศักยภาพ และขยายออกไปอีกได้ เราตระหนักถึงผลกระทบของการตัดสินใจในครั้งนี้ที่มีต่อทีมต่าง ๆ เป็นอย่างดี และผมขอเป็นตัวแทนบอร์ดบริหารในการแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อชาวกูรูที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจในครั้งนี้ ที่ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และทุ่มเทให้กับกรุ๊ปของเราเป็นอย่างดีเสมอมา ผมขออวยพรให้ทุกท่านโชคดีกับเส้นทางที่ทุกท่านเลือกเดินต่อไปนับจากนี้”
ด้านนายโจ ดิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน “ในไตรมาสที่ 2 นี้ ผลประกอบการธุรกิจโดยรวมของเราถือว่าดี แม้ว่าเราจะเผชิญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างช้ากว่าที่คาดในเวียดนามก็ตาม รายได้ของเราในไตรมาสที่ 2 นี้ หากไม่นับรวมเวียดนามแล้ว มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งอยู่ที่ 22% ผลกำไร Adjusted EBITDA อยู่ที่ 5 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 129 ล้านบาท) ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างมีนัยจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 จากการที่เราได้กำไรทั้งจากการจัดการค่าใช้จ่ายและต้นทุนทางการเงินที่ดีขึ้น อันเป็นผลให้ทั้งรายได้ และผลกำไร Adjusted EBITDA ของเราเพิ่มขึ้นราว 4 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 104 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผมตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า เราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกในตลาดเวียดนาม เนื่องจากรัฐบาลได้เริ่มลดอัตราดอกเบี้ย และปรับปรุงการเข้าถึงสินเชื่อให้ทั้งผู้บริโภคและผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ดีขึ้น
แม้ว่าภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันจะยังคงไม่ฟื้นตัวดีนัก แต่เราจะยังคงมุ่งมั่นที่จะโฟกัสสร้างการเติบโตที่มีผลกำไร และยั่งยืน ด้วยการใช้โซลูชั่นชั้นนำที่เรามีในตลาดต่าง ๆ เราจะจัดการการใช้จ่ายอย่างรัดกุม รอบคอบ และตั้งเป้าในการลงทุนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกรุ๊ปของเรา ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ การตัดสินใจครั้งล่าสุดของเราที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียและโปรดักส์อย่างฟาสต์คีย์จะช่วยให้เราสามารถลำดับความสำคัญของทรัพยากรและการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น และจะไม่มีผลกระทบต่อการคาดการณ์ในปี 2566 ของเราแต่อย่างใด อนึ่ง เราได้ใช้เงินสำหรับค่าใช้จ่ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ราว 8 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 207 ล้านบาท)”
ไฮไลต์ทางการเงิน – ไตรมาส 2 ปี 2566
- รายได้รวมทั้งหมดเพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 37 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 956 ล้านบาท) ในไตรมาสสองปีนี้
- รายได้จากหน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสเพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 35 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ ในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยตลาดรายได้สำคัญยังคงเป็นสิงคโปร์ และผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในมาเลเซียช่วยถ่วงดุลชั่วคราวให้ความท้าทายที่เกิดขึ้นในตลาดเวียดนามไม่รุนแรง
- รายได้ตามแต่ละเซ็กเมนต์:
-
- หน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในสิงคโปร์ รายได้โตขึ้น 25% จากปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 22 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 570 ล้านบาท) จากจำนวนเอเจนต์โดยรวม และรายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์ (Average Revenue Per Agent หรือ “ARPA”) โตขึ้นในไตรมาสนี้ โดยในไตรมาสที่ 2 นี้รายได้เฉลี่ยต่อเอเจนต์เพิ่มขึ้น 25% มาอยู่ที่ 1,256 สิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 33,000 บาท) ต่อคน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และจำนวนเอเจนต์โดยรวมของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นกว่า 300 ราย มาอยู่ที่ 16,095 ราย อัตราการต่อสัญญา (renewal rate) ในไตรมาสอยู่ที่ 82%
- หน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในมาเลเซีย รายได้เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 7 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (181 ล้านบาท) โดยบริษัทยังคงได้รับประโยชน์จากการรวมตลาดกันระหว่างสองแบรนด์ชั้นนำในประเทศ นั่นก็คือ iProperty และ PropertyGuru Malaysia
- หน่วยธุรกิจมาร์เก็ตเพลสในเวียดนาม รายได้ลดลง 27% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 5 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 129 ล้านบาท) เนื่องจากจำนวนรายการประกาศที่ลดลง ซึ่งถูกชดเชยด้วยรายได้เฉลี่ยต่อประกาศ (average revenue per listing หรือ “ARPL”) ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความพยายามในการจำกัดการให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้พัฒนาโครงการยังคงมีผลกระทบชั่วคราวต่อตลาดในไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้การซื้อขายในเวียดนามช่วงไตรมาสนี้ลดลง ทั้งนี้ รายการประกาศของเวียดนามลดลงราว 46% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 1.29 ล้านรายการ รายได้เฉลี่ยต่อประกาศอยู่ที่ (ARPL) 3.86 สิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 100 บาท) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปีก่อนหน้าราว 36%
- รายได้จากหน่วยธุรกิจฟินเทค (Fintech) และดาต้า เซอร์วิสเซส (Data services) เพิ่มขึ้น 47% มาอยู่ที่ 1.5 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 39 ล้านบาท)
- ณ สิ้นสุดไตรมาส เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกรุ๊ปอยู่ที่ 302 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 7.8 พันล้านบาท)
รายละเอียดการดำเนินงานในเซ็กเมนต์ต่าง ๆ ของเราแสดงอยู่ด้านล่างนี้ ทั้งนี้ ในปีนี้บริษัทไม่ได้นำค่าใช้จ่ายในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออกในการคำนวน Adjusted EBITDA ดังนั้น การเปรียบเทียบกับผลประกอบการในปี 2565 จึงมีการปรับใหม่
|
|
For the Three Months Ended June 30 |
||||
|
|
2023 |
2022 |
YoY Growth |
||
|
|
(S$ in thousands except percentages) |
||||
|
|
|
|
|
||
Revenue |
36,880 |
33,031 |
11.7% |
|||
Marketplaces |
35,368 |
32,001 |
10.5% |
|||
|
Singapore |
21,534 |
17,293 |
24.5% |
||
|
Vietnam |
5,074 |
6,943 |
-26.9% |
||
|
Malaysia |
6,602 |
5,899 |
11.9% |
||
|
Other Asia |
2,158 |
1,866 |
15.6% |
||
Fintech and data services |
1,512 |
|
1,030 |
46.8% |
||
Adjusted EBITDA |
4,611 |
256 |
|
|||
Marketplaces |
20,775 |
12,964 |
|
|||
|
Singapore |
16,560 |
11,233 |
|
||
|
Vietnam |
848 |
1,669 |
|
||
|
Malaysia |
3,966 |
1,241 |
|
||
|
Other Asia |
(599) |
(1,179) |
|
||
Fintech and data services |
(2,657) |
(1,885) |
|
|||
Corporate* |
(13,507) |
(10,823) |
|
|||
Adjusted EBITDA Margin (%) |
12.5% |
0.8% |
|
|||
Marketplaces |
58.7% |
40.5% |
|
|||
|
Singapore |
76.9% |
65.0% |
|
||
|
Vietnam |
16.7% |
24.0% |
|
||
|
Malaysia |
60.1% |
21.0% |
|
||
|
Other Asia |
-27.8% |
-63.2% |
|
||
Fintech and data services |
-175.7% |
-183.0% |
|
|||
|
|
For the Six Months Ended June 30 |
||||
|
|
2023 |
2022 |
YoY Growth |
||
|
|
(S$ in thousands except percentages) |
||||
|
|
|
|
|
||
Revenue |
69,508 |
61,263 |
13.5% |
|||
Marketplaces |
66,568 |
59,214 |
12.4% |
|||
|
Singapore |
40,381 |
32,297 |
25.0% |
||
|
Vietnam |
8,402 |
11,999 |
-30.0% |
||
|
Malaysia |
13,420 |
11,333 |
18.4% |
||
|
Other Asia |
4,365 |
3,585 |
21.8% |
||
Fintech and data services |
2,940 |
|
2,049 |
43.5% |
||
Adjusted EBITDA |
4,831 |
810 |
|
|||
Marketplaces |
37,070 |
26,616 |
|
|||
|
Singapore |
30,567 |
22,631 |
|
||
|
Vietnam |
(73) |
2,806 |
|
||
|
Malaysia |
7,468 |
3,610 |
|
||
|
Other Asia |
(892) |
(2,431) |
|
||
Fintech and data services |
(4,862) |
(3,531) |
|
|||
Corporate* |
(27,377) |
(22,275) |
|
|||
Adjusted EBITDA Margin (%) |
7.0% |
1.3% |
|
|||
Marketplaces |
55.7% |
44.9% |
|
|||
|
Singapore |
75.7% |
70.1% |
|
||
|
Vietnam |
-0.9% |
23.4% |
|
||
|
Malaysia |
55.6% |
31.9% |
|
||
|
Other Asia |
-20.4% |
-67.8% |
|
||
Fintech and data services |
-165.4% |
-172.3% |
|
|||
การเป็นผู้นำในตลาดขับเคลื่อนโอกาสการเติบโตในระยะยาว
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 พร็อพเพอร์ตี้กูรู ยังคงครองความเป็นผู้นำในตลาดด้วยสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์อันดับหนึ่งในประเทศสิงคโปร์, เวียดนาม, มาเลเซีย และไทย
สิงคโปร์: 82% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 5.9 เท่า
มาเลเซีย: 93% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 13.6 เท่า
เวียดนาม: 82% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 4.5 เท่า
ไทย: 54% – นำหน้าแบรนด์อันดับสอง 2.3 เท่า
ภาพรวมของตลาดในปี 2566
บริษัทยังคงคาดการณ์ว่ารายได้ทั้งปีของปี 2566 นี้จะอยู่ที่ระหว่าง 160 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 4.1 พันล้านบาท) – 170 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 4.4 พันล้านบาท) ในขณะที่ Adjusted EBITDA จะอยู่ที่ราวๆ 11 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 285 ล้านบาท) – 15 ล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ (ราว 388 ล้านบาท) แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันในเวียดนามยังคงทรงตัวอย่ แต่เราเชื่อว่ารายได้จะยังคงแตะถึงเป้าต่ำสุดที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ เรายังคงมองว่าสถานการณ์ในเวียดนามจะเริ่มดีขึ้นในไตรมาสต่อ ๆ ไปของปีนี้
ดังที่สังเกตในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา การเข้าแทรกแซงในตลาดอสังหาฯ ของรัฐบาลเวียดนาม, ความผันผวนทางการเมืองในมาเลเซียที่ยังคงมีอยู่, นโยบายที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ที่เคร่งครัดขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนของนโยบายการคลัง อันเกิดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มสูงขึ้น, แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ รวมไปถึงประเด็นเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานโลก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายระยะสั้น ที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท และคงการคาดการณ์ในแบบที่ไม่หวือหวาเท่าใดนักในปี 2566 นี้ แต่ในระยะยาว บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะเร่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพื่อเพิ่มผลกำไร และสร้างโอกาสในตลาดหลัก ๆ ที่เราดำเนินการอยู่