กฎหมาย ‘สมรสเท่าเทียม’ ปลดล็อคคู่รัก LGBTQ+ ซื้อบ้าน
การซื้อบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ+ ในอนาคตจะเป็นประสบการณใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม หลังจาก ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ในอนาคต
สิทธิประโยชน์ที่ คู่รัก LGBTQ+ จะได้รับจากร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม นี้มีอะไรบ้าง
สิทธิกู้ร่วมกันซื้อบ้าน
ก่อนหน้านี้ คู่รัก LGBTQ+ (Lesbian-Gay-Bisexual-Transgender-Queer) ได้รับการจำกัดสิทธิของการกู้ร่วมกันเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เพราะไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายที่เปิดให้เฉพาะ สามี-ภรรยาที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย หรือมีหลักฐานแสดงการเป็นสามีภรรยากัน, พี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลจะต้องแสดงหลักฐาน, พี่น้องท้องเดียวกันที่นามสกุลเดียวกัน, พ่อหรือแม่กับลูก, ญาติที่นามสกุลเดียวกัน และที่เป็นพ่อแม่บุญธรรมกับลูกบุญธรรมเท่านั้นจึงจะมีสิทธิทำเรื่องขอสินเชื่อที่เป็นการกู้ร่วมกันได้
แม้ว่าในช่วง 2 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มเปิดกว้างให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมกันได้แล้ว แต่สิทธิในทางกฎหมายยังไม่ครอบคลุมได้เท่ากับ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
สิทธิการจัดการสินสมรส
แม้ว่าจะใช้ชีวิตร่วมกัน สร้างธุรกิจ และทรัพย์สินไว้มากมาย แต่หากฝ่ายฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตไปทรัพย์สินที่เคยสร้างร่วมกันมาจากศูนย์จนมั่งคั่งนั้นจะตกเป็นของญาติของผู้ตายทั้งหมด คู่ชีวิตจะไม่ได้ส่วนแบ่งใด ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกังวลของ คู่รัก LGBTQ+ ที่จะได้รับการปลดล็อคจาก ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่จะให้สิทธิในการจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย เช่น ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส เป็นต้น
สิทธิในการรับมรดก
อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ เงินฝาก รถยนต์ เป็นทรัพย์มรดกที่ คู่รัก LGBTQ+ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เสียชีวิตลง อีกฝ่ายจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก โดยกฎหมายให้นับว่าเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมาย
สิทธิในการรักษาพยาบาล
อีกหนึ่งปัญหาที่ คู่รัก LGBTQ+ แบกรับก็คือการตัดสินใจในการยินยอมให้เข้ารับการรักษาเมื่อฝ่ายหนึ่งล้มป่วย หรือมีเหตุฉุกเฉินที่แพทย์ให้ทำการตัดสินใจ เรียกว่า เป็นนาทีแห่งความเป็นความตาย แต่อีกคนกลับไม่สามารถกระทำการใด ๆ ได้เลยในทางกฎหมาย ซึ่ง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะทำเปิดกว้างให้สิทธินี้มีความเท่าเทียมได้เช่นที่ภรรยา หรือ สามี เซ็นอนุญาตให้แพทย์ทำการผ่าตัด
โอกาสของตลาดอสังหาฯ จากอำนาจซื้อก้อนโต
แนวโน้มการซื้อบ้านสร้างครอบครัวร่วมกันของ คู่รัก LGBTQ+ จะเป็นอีกโอกาสครั้งสำคัญของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม และทาวเฮ้าส์ จากกำลังซื้อของคนในกลุ่มก้อนนี้ที่คาดว่าจะมากถึง 6 ล้านคนในประเทศไทย ในขณะที่ LGBT Capital ประมาณการณ์อำนาจการใช้จ่ายโดยรวมทั่วโลกของฐานผู้บริโภค (LGBT-GDP) ไว้ที่ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากประชากร LGBTQ+ ประมาณ 388 ล้านคนทั่วโลก
‘อสังหาฯ-แบงก์’ พร้อมโอบรับความรักทุกรูปแบบ
การสื่อสารการตลาดและพัฒนาโปรดักท์ที่ตอบโจทย์เซ็กเมนต์ คู่รัก LGBTQ+ มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเล็งเห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของความต้องการ และ อำนาจการใช้จ่ายที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น
- แสนสิริ ออกมาสนับสนุนความเท่าเทียมผ่านแคมเปญในทุกปี เช่น แคมเปญ “Live Equally เราเท่ากัน ฉันเท่าเธอ” ที่รณรงค์ถึงการสร้างมาตรฐานใหม่ด้านความเท่าเทียมในสังคม รวมถึงจับมือพันธมิตรทางการเงิน ปล่อยกู้ให้กับคู่รัก LGBTQ+
- เอสซี แอสเสท จัดทำแคมเปญในเดือน Pride Month ในคอนเซปต์ “RAINBOW OVER YOUR HOUSE” เปิดกว้างในการใช้ชีวิตคู่ทุกรูปแบบ
- ขณะที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ทำแคมเปญสินเชื่อบ้าน My Pride ให้กับคู่รัก LGBTQ+ ได้เริ่มต้นสร้างครอบครัว
สังคมไทยที่เปิดกว้าง พร้อมโอบรับความรักในทุกรูปแบบ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ “ความเท่าเทียม” และโอกาสทางธุรกิจที่จะได้รับผลบวกจากการอำนาจซื้อและการบริโภคอีกมหาศาลจาก LGBTQ+ คอมมูนิตี้ที่ทรงพลังมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในประเทศไทยและทั่วโลก
บทความที่คุณอาจสนใจ
- รวม 21 ของใช้มูจิในบ้าน ราคาไม่เกิน 300 บาท เอาใจแม่บ้านสายมินิมอล
- แบบบ้านญี่ปุ่น เหมาะกับเฟอร์นิเจอร์แบบไหนใน IKEA ?
- ไอเดียบ้านหน้าแคบ แบบญี่ปุ่น สไตล์มินิมอล
- ไอเดียแต่งบ้านสไตล์ Minimal หลังโปรด น้อยแต่ครบ ฉบับชาวญี่ปุ่น
#สมรสเท่าเทียม