–
![](https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/content/2021/9/ba67cb6a-7a70-421d-9685-ce3844745a40.png)
เคยสงสัยไหมคะ ว่าชื่อสะพานบางแห่งในกรุงเทพมหานคร จะมีชื่อเรียกว่า “พระราม” ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากพระนามของพระมหากษัตริย์นั่นเองค่ะ โดยชื่อภาษาอังกฤษจะใช้ว่า “Rama” มาจากพระปรมาภิทัยเต็ม และแต่ละสะพานมีประวิตัความเป็นมาอย่างไร และจะตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง เรามาดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ
สะพานพระรามที่ 1
สะพานพระราม1 หรือสะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานที่มี 2 ช่วง คือ สะพานช่วงแรก เป็นสะพานข้ามทางรถไฟ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงสร้างสะพานข้ามรถไฟ เมื่อ พ.ศ. 2470 ไปบรรจบกับสะพานช่วงที่ 2 เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2471 เพื่อทดแทนสะพานยศเส ซึ่งเป็นสะพานไม้ สร้างโดยพระยายศเส ซึ่งชำรุดจึงให้รื้อออกไป และในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน เปิดสะพานกษัตริย์ศึก โดยชื่อสะพานนำมาจากราชทินนามในพระบาทสมเด็จยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ทรงรับราชการ และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทั้งนี้เพื่อให้สัมพันธ์กับความหมายของนามถนนพระราม 1 ซึ่งหมายถึงรัชกาลที่ 1 นั่นเองค่ะ
สะพานพระราม 2
การก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ข้ามแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งนับว่ายาวที่สุดในประเทศไทย ได้รับพระราชทานนามว่า “สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2537 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง ในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม สะพานแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อถนนพระรามที่ 2 ในปัจจุบัน เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชสมภพที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม สะพานดังกล่าวได้อัญเชิญพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาเป็นนามของสะพาน และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขอพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนพระรามที่ 2 ภายหลังจากกรมทางหลวงได้สร้างถนนสายธนบุรี–ปากท่อ เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ
สะพานพระราม 3
เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างถนนรัชดาภิเษก เขตธนบุรี กับถนนพระรามที่ 3 เขตบางคอแหลม เริ่มก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2539 สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ จึงมีชื่อเรียกกันติดปากว่า “สะพานกรุงเทพ 2” เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจากสะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้างสะพานพระราม 3 ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ สะพานพระราม 3 ยังเป็นสะพานที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกอีกด้วยค่ะ
จัดได้ว่า “สะพานพระราม 1-3” นี้มีประวัติที่เก่าแก่มากเลยทีเดียว ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น แอดมินได้รวบรวม และสรุปเนื้อหาคร่าวๆ มาบอกทุกคน และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ คนนะคะ สามารถติดตามข้อมูลสะพานพระรามที่เหลือในบทความต่อไปได้เลยค่ะ
รู้หรือไม่! สะพานพระราม 1-9 อยู่ที่ไหน และมีความเป็นมาอย่างไร
ตอนที่ 1 https://homeday.co.th/history-of-rama-bridge-part-one/
ตอนที่ 2 https://homeday.co.th/history-of-rama-bridge-part-two/
ตอนที่ 3 https://homeday.co.th/history-of-rama-bridge-part-three/