KAVE playground

กระทรวง อว. สกสว. เปิดแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. พร้อมรับมือภัยพิบัติในอนาคตด้วยตัวเอง

กระทรวง อว. ระดมสรรพกำลังผนึกทุกภาคส่วน นำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาเป็นกลไกหลัก ในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบ โดยบูรณาการเครื่องมือ ววน. ทุกแขนง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที พร้อมสนับสนุนงบประมาณการวิจัย กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จะจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือกับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้แผนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ ภัยพิบัติ และการบริหารจัดการภัยธรรมชาติแบบบูรณาการ เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อันเป็นการเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้านสำหรับเหตุภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

กระทรวง อว. สกสว. เปิดแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. พร้อมรับมือภัยพิบัติในอนาคตด้วยตัวเอง

31 มีนาคม 2568 – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผนึกกำลังภาครัฐ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ จัดเวทีเสวนา “ก้าวข้ามธรณีพิโรธ : นวัตกรรม ววน. พลิกเกมภัยแผ่นดินไหว เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยของไทย” ถอดบทเรียนกรณีแผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร เปิดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. พร้อมใช้รับมือภัยพิบัติในทุกมิติ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. คณะผู้บริหาร เข้าร่วมเสวนาพร้อมตอบข้อซักถามสื่อมวลชน เพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งในการรับมือต่อภัยพิบัติในอนาคต

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ในประเทศเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กระทรวง อว. ได้เร่งระดมสรรพกำลัง ทั้งนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานในสังกัด เพื่อนำผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงนำองค์ความรู้ทางวิชาการไปสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้กับพี่น้องประชาชน พร้อมเน้นย้ำว่ากองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดย สกสว. ได้รับผิดชอบการจัดทำแผนด้าน ววน. ซึ่งเป็นแผนวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของไทย และได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ในระบบ ววน. เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว

โดยทาง กระทรวง อว. ได้มีการส่งทีมหุ่นยนต์ iRAP Robot (ไอ-แล็ปโรบอท) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และหุ่นยนต์ตรวจการณ์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก D-EMPIR V.4 (ดี-เอ็มไพร์ เวอร์ชันโฟร์) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย บริเวณอาคารที่ทำงานสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ถล่ม พร้อมจัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือด้านการตรวจสอบอาคารและการแพทย์ (ศปก.อว.) มีการใช้ Traffy Fondue ให้ประชาชนแจ้งเหตุ เพื่อส่งทีมเข้าประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขณะที่ GISTDA ได้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม THEOS-2 ประเมินความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ที่ผ่านมา กองทุน ววน. ได้มีการจัดสรรงบประมาณวิจัยและนวัตกรรม เพื่อดำเนินการในแผนงานสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการบริหารจัดการภัยทางธรรมชาติแบบบูรณาการ อาทิ

  • “InSpectra-01” เทคโนโลยีที่นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการตรวจจับและวัดขนาดรอยร้าวในโครงสร้างอย่างแม่นยำและรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนในการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินความเสียหายของโครงสร้าง ด้วยระบบ AI โดย รศ.ดร.พรหมพัฒน ธัญสิริชัยศรีศูนย์วิจัยตรวจสอบโครงสร้างและเฝ้าระวัง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • “เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวราคาประหยัด” เซนเซอร์ตรวจวัดอาคารเป็นอุปกรณ์ที่วัดค่าความเร่ง สามารถวัดค่าความสั่นสะเทือนและแจ้งเตือนผ่านเซนเซอร์นี้ โดยลดต้นทุนการนำเข้าจากหลักแสน เหลือเพียงหลักหมื่นบาท ทำให้ “ผู้ใช้” ซึ่งเป็นวิศวกรดูแลอาคาร และผู้บริหารโรงพยาบาลตัดสินใจความปลอดภัยของอาคารได้หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดย รศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยา
  • “หุ่นตรวจการและเก็บกู้วัตถุระเบิด รุ่น D-EMPIR V.4” ถูกออกแบบสำหรับการปฏิบัติงานเก็บกู้วัตถุระเบิด และสามารถซ่อมบำรุงได้ง่ายเมื่อเกิดความเสียหาย โดยในช่วงสถานการณ์วิกฤตหุ่นยนต์ D-EMPIR V.4 ได้ถูกนำมาลงพื้นที่เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ณ ถ.กำแพงเพชร เขตจตุจักร กทม. ที่มีผู้บาดเจ็บและสูญหายเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยหุ่นยนต์มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัวสูง มีการติดตั้งแขนกลพิเศษ สามารถเข้าพื้นที่แคบได้โดยใช้แขนกลหยิบจับสิ่งของและปีนป่ายทางต่างระดับได้อย่างคล่องตัว โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI)
  • “แพลตฟอร์ม Traffy Fondue” เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกพัฒนาเพื่อรองรับการแจ้งเหตุและบริหารจัดการปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งปัญหาและร้องขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้ข้อมูลถูกส่งตรงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ลดระยะเวลาในการประสานงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ได้มีการนำแพลตฟอร์ม Traffy Fondue เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหวให้กับประชาชน โดยปัจจุบันมีการแจ้งข้อมูลกว่า 5,000 กรณี โดย ห้องปฏิบัติการระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

“ กระทรวง อว. มีบทบาทหลักในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้รับมือภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้สั่งการหน่วยงานในสังกัดเร่งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ครอบคลุม 3 ด้านหลัก 1) “พัฒนาระบบเตือนภัยในทุกมิติ” แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม ภัยแล้ง พร้อมระบบข้อมูลและการสื่อสารที่รวดเร็วและทั่วถึง 2) “เสริมการจัดการภัยพิบัติ” สนับสนุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการภัยพิบัติและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนในพื้นที่ 3) “สร้างความเข้มแข็งชุมชน” ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกอบรมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการรับมือ และสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน ” รมว.อว. กล่าวทิ้งท้าย

ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวถึงนโยบายการจัดสรรงบประมาณวิจัยเพื่อรองรับภัยพิบัติ โดยมีแผนงาน (P16) ที่มุ่งเน้นการพัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ววน.) โดยแบ่งเป็นสองภาคส่วนหลัก คือ “ภาคการเกษตร” มุ่งเน้นการรับมือกับผลกระทบจาก Climate Change โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยระบบเตือนภัย การปรับปรุงพันธุ์และการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงภัยแล้ง การระบาดของแมลงและการกัดเซาะชายฝั่ง “ภาคเมืองและอุตสาหกรรม” มุ่งเน้นการรับมือแผ่นดินไหว สึนามิ วาตภัย น้ำท่วม/น้ำแล้ง ภัยจากความร้อน ดินโคลนถล่ม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ Biodiversity ความมั่นคงทางน้ำและสุขภาพและสัตว์เศรษฐกิจ รวมถึงมีแผนงาน (P24) แก้ไขปัญหาและตอบสนองภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ (Resilience) มีศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านความรู้ กำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน.

ทั้งนี้ สกสว. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยเน้นการนำ ววน. มาใช้ในการรับมือภัยพิบัติ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

  1. จัดสรรงบประมาณวิจัย:ภายใต้แผนงานเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตระดับประเทศ เช่น แผ่นดินไหวและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  2. ร่วมกับ สอวช. ทบทวนและยกระดับแผนด้าน ววน. ของประเทศ:เพื่อให้ตอบโจทย์ปัญหาท้าทายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
  3. นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสนับสนุนหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัย:เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์
  4. สนับสนุนภารกิจด้านการสร้างความตระหนักรู้ การป้องกัน และการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในทุกระดับ:ทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการรับมือภัยพิบัติ
  5. ขับเคลื่อนบทบาทของ อว. และ สกสว. ให้เป็นกลไกลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน:เน้นย้ำเป้าหมายหลักคือการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

“ สกสว.พร้อมรับนโยบาย กระทรวง อว. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ การรวมกลุ่มของวิศวกรรมร่วมใจ อววน. ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญและศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Talents & Knowledge) ระบบที่เชื่อมต่อประชาชนกับภาครัฐเพื่อประเมินความเสี่ยงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว  (Al-Enable Traffy Fondue โดยกองทุน ววน.) และที่สำคัญคือการร่วมงานเครือข่ายกับต่างประเทศสร้างความรู้เชิงระบบเตือนภัยกับประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น โดยความร่วมมือนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยรับประมาณ ” ผอ.สกสว.กล่าวทิ้งท้าย

นอกจากนี้ ภายในงานมีการเสวนาเกร็ดความรู้ “รับมือธรณีพิโรธ” ในประเด็น “ธรณีวิทยาและความเสี่ยงของแผ่นดินไหวในประเทศไทย” โดย ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “การออกแบบอาคารและโครงสร้างเพื่อรับมือแผ่นดินไหว” โดย ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และ “เทคโนโลยีเตือนภัยแผ่นดินไหวและการพัฒนาโดยนักวิจัยไทย” โดย รศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กระทรวง อว. สกสว. เปิดแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว เจาะลึกเทคโนโลยีและนวัตกรรม ววน. พร้อมรับมือภัยพิบัติในอนาคตด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
The Palm (copy)
Sidebar
บทความล่าสุด
แปซิฟิกไพพ์ยืนหยัดจุดยืนผู้นำมาตรฐานคุณภาพเหล็ก เน้นย้ำความปลอดภัยต่อผู้บริโภคต้องมาก่อน
ข่าวสาร
ใครอยากมีบ้านมาทางนี้! ธอส. จัดทำสินเชื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรกเพียง 0.89% ต่อปี ผ่อนปีแรกเริ่มต้นเดือนละ 2,500 บาท เท่านั้น
ข่าวสาร
แต่งบ้านให้มีสไตล์ไม่ต้องรอ! “Koncept Play X Phannapast” ปลุกกระแส Creative Space: Artist Collection จนได้รับความนิยมเกินคาด
ข่าวสาร
ภาคก่อสร้างไทยยืนแกร่ง ย้ำมาตรฐานความแข็งแรง ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นภาคอสังหาฯ ไทย
ข่าวสาร
ธอส. เผยปัจจัยบวกกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ไทย ในปี 2568 ฟื้นตัวดีขึ้นจากปีก่อนผลักดันสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยันลูกค้าอาคารชุดสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ตามปกติ
ข่าวสาร
รีวิวโครงการ
รีวิว เคฟ เพลย์กราวด์ ลาดพร้าว-บดินทรเดชา (Kave Playground Ladprao-Bodindecha) คอนโดใหม่ Fully Furnished ติดบดินทรเดชาฯ ส่วนกลางจัดเต็ม 60 รายการ และโซน Pet-Friendly แยกตึก
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เลค วิลล์ จันทบุรี (Supalai Lake Ville Chanthaburi) บ้านหรูสไตล์ Tropical Modern ใจกลางธรรมชาติริมทะเลสาบกว่า 10 ไร่ พร้อมฟังก์ชันครบครัน รองรับชีวิตระดับพรีเมียมในทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดของจันทบุรี
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย วิลล์ ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้าน Design ใหม่ พื้นที่ใหญ่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทุก Lifestyle เป็นส่วนตัวเพียง 66 แปลง ส่วนกลางครบครัน บนทำเลที่โดดเด่น โซนปิ่นเกล้า-ศาลายา
Sponsor
Loading..