ปฏิวัติขั้นตอน “ปฐมพยาบาล” ในที่ทำงานใหม่ SHAWPAT ผนึกกำลังความร่วมมือ เร่งจัดฝึกอบรม “การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน” ให้พนักงาน รับมือภัยสุขภาพใกล้ตัว “ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน”

ปฏิวัติขั้นตอน “ปฐมพยาบาล” ในที่ทำงานใหม่ SHAWPAT ผนึกกำลังความร่วมมือ เร่งจัดฝึกอบรม “การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน” ให้พนักงาน รับมือภัยสุขภาพใกล้ตัว “ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน”
Homeday

ปฏิวัติขั้นตอน “ปฐมพยาบาล” ในที่ทำงานใหม่ SHAWPAT ผนึกกำลังความร่วมมือ เร่งจัดฝึกอบรม “การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน” ให้พนักงาน  รับมือภัยสุขภาพใกล้ตัว “ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน”

 

กรุงเทพฯ 1 กันยายน 2565 – ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่องค์กรและบริษัทต่าง ๆ เริ่มให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องคำนึงถึงเมื่อพนักงานกลับเข้าออฟฟิศอีกครั้งก็คือภาวะสุขภาพของคนวัยทำงาน ไม่เพียงเฉพาะโรคอุบัติใหม่ แต่หลายครั้งภัยเงียบทางสุขภาพเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน (Sudden Cardiac Arrest หรือ SCA) เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบใกล้ตัวที่ไร้สัญญาณเตือนที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายในแต่ละปี และสามารถเกิดได้กับทุกคนในทุกที่ทุกเวลา รวมถึงในที่ทำงาน การเตรียมแผนการสื่อสารด้านการปฐมพยาบาลที่เหมาะสมและการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน รวมถึงการติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ช่วยชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรและบริษัทต้องตระหนักถึงเมื่อเรากลับมาทำงานตามปกติอีกครั้ง เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ (SHAWPAT) จึงได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และบริษัท เจี่ยรักษา จำกัด จัดงานเสวนาหัวข้อ “AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน” เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการปฐมพยาบาลโดยใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) และการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่ทำงานและอาคารต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้องค์กร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักการปฐมพยาบาลและการใช้เครื่อง AED อย่างถูกต้อง ปรับเปลี่ยนชุดเครื่องมือปฐมพยาบาลให้เหมาะสมและทันสมัย พร้อมแผนสื่อสารด้านการช่วยชีวิตผู้ป่วยขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้เกณฑ์ปฏิบัติในระยะยาวต่อไป

อันตรายของภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน โดยเฉพาะในที่ทำงาน 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปีซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า เป็นภาวะที่เกิดจากการที่หัวใจสูญเสียการทำงานกะทันหัน ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกซิเจนไปยังร่างกายได้อย่างเพียงพอ และทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่มีความอันตรายถึงชีวิต นายแพทย์คมชิต ชวนัสพร วิทยากรในฐานะสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) กล่าวเสริมเกี่ยวกับภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในที่ทำงานว่า เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องรักษาทันที ด้วยการทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และใช้เครื่อง AED เมื่อจำเป็นเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ ซึ่งหากมีการใช้อย่างถูกต้องภายใน 3-5 นาที จะสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ แต่ถ้าปล่อยไว้นานเกินไป โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งลดลง เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงนานเกินไป ดังนั้น หากผู้ป่วยได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงที จะทำให้สามารถมีโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้

ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต (chain of survival): หัวใจสำคัญของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานตามหลัก “ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต” (chain of survival) และการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันด้วยเครื่อง AED เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทุกคนต้องรู้ โดยเฉพาะพนักงานในองค์กร โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือ สพฉ. ได้แนะนำขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Early Access เมื่อพบผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่สายด่วน 1669 ทันที จากนั้น Early CPR เพื่อเริ่มช่วยชีวิตผู้ป่วยทันที โดยการนำผู้ป่วยนอนราบบนพื้นแข็งและกดที่กลางหน้าอกผู้ป่วยเพื่อนวดหัวใจ เหยียดแขนตึงตั้งฉากกับผู้ป่วย จากนั้นออกแรงกดให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว กดต่อเนื่องและสม่ำเสมอด้วยอัตรา 100-120 ครั้งต่อนาที Early Defibrillation ในสถานการณ์ที่ทำ CPR อย่างเดียวไม่ได้ผล AED คือเครื่องปฐมพยาบาลที่จำเป็นที่สุด เมื่อจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าช่วยชีวิตผู้ป่วย ให้นำเครื่อง AED มาติดที่บริเวณหน้าอกของผู้ป่วยตามคำแนะนำที่บอกไว้ที่เครื่อง หยุดรอให้เครื่องวิเคราะห์ผู้ป่วย จากนั้นหากเครื่องแนะนำให้ทำการช็อค ห้ามทุกคนสัมผัสตัวผู้ป่วยและกดช็อคที่ตัวเครื่อง AED เมื่อเสร็จแล้วให้กดหน้าอกผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง Early ACLS ทีมกู้ชีพที่ได้รับการประสานการช่วยเหลือ จะเป็นผู้ใช้วิธีช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างรวดเร็วและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่อไป Integrated Post Cardiac Arrest Care ดูแลผู้ป่วยหลังจากการทำ CPR อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการให้ออกซิเจน การควบคุมระดับความดันโลหิตให้เหมาะสม ฯลฯ

 

ปฏิวัติขั้นตอน “ปฐมพยาบาล” ในที่ทำงานใหม่ SHAWPAT ผนึกกำลังความร่วมมือ เร่งจัดฝึกอบรม “การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน” ให้พนักงาน  รับมือภัยสุขภาพใกล้ตัว “ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน”

 

AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิตในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในที่ทำงาน

เครื่อง AED ถือเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่มีความสำคัญในขั้นตอนการปฐมพยาบาล เนื่องจากช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้ โดยคณะกรรมการแพทย์ฉุกเฉินได้ออกประกาศกำหนดให้การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเป็นการปฐมพยาบาลอีกขั้นตอนหนึ่ง ไว้สำหรับเริ่มต้นกระทำการรักษาชีวิตหรือช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ขณะรอคอยปฏิบัติการแพทย์จากผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ช่วยเวชกรรม ณ ที่เกิดเหตุการณ์และขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ทุกคนจึงสามารถใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติได้ แต่จำเป็นต้องมีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการปั๊มหัวใจหรือการทำ CPR ที่ถูกต้อง โดยการกดหน้าอกและการช่วยหายใจร่วมด้วย ดังนั้นในสถานประกอบการ พนักงานจะสามารถช่วยพนักงานด้วยกันได้ โดยจำเป็นต้องผ่านการอบรมเรื่องการทำ CPR และการใช้เครื่อง AED อย่างถูกต้องก่อน

นพ.สมชาย แซ่เจี่ย บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์และ เครื่อง AED ชั้นนำในประเทศไทย ได้กล่าวถึงมาตรฐานและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่อง AED ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือ สพฉ. ได้กำหนดไว้ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่อง AED ต้องมีลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ และมีปุ่มสำหรับปล่อยพลังงานไฟฟ้า และตัวเครื่องมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์

นอกจากนี้ ตำแหน่งและจำนวนการติดตั้งเครื่อง AED นอกสถานพยาบาล จะต้องเป็นจุดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินหัวใจหยุดเต้นได้ภายในระยะเวลา 4 นาที นับตั้งแต่พบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น โดยติดตั้งอยู่ในจุดที่สังเกตได้ง่าย มองเห็นได้ในที่มืด อยู่ในจุดที่ปลอดภัยสูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร มีที่จัดเก็บซึ่งเป็นตู้หรือแขวนผนัง กำหนดให้มีสัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องหมายสากลในจุดที่ติดตั้ง มีขั้นตอนวิธีการช่วยเหลือฉุกเฉินที่ชัดเจน รวมถึงมีป้ายบอกทางไปยังจุดที่ติดตั้งเครื่อง AED

แผนการสื่อสารและจัดฝึกอบรมขั้นตอนการปฐมพยาบาลที่จำเป็น

องค์กรจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแผนการสื่อสารและจัดฝึกอบรมขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เพื่อรับรองสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและสร้างสวัสดิภาพที่ดีให้แก่พนักงาน และเพื่อให้องค์กรมีความพร้อมในการรับมือกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของพนักงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดโอกาสความสูญเสีย โดยแนวทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยขององค์กร ควรประกอบด้วยโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้แก่พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ ซักซ้อมแผนการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ รวมถึงการติดตั้งใช้งานเครื่อง AED เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็นขององค์กร โดยให้มีการบำรุงรักษาเครื่อง การตรวจเช็คตามระยะ การซ่อมบำรุงให้เครื่องมีความพร้อมในการใช้งานได้ตลอดเวลา

ติดตามข่าวอสังหา และข่าวสารของ Homeday ได้ก่อนใคร

แท็กที่เกี่ยวข้อง
142683598 297883218417844 4346834225696401235 n
HOMEDAY
เว็บไซต์เพื่อคนที่สนใจเรื่องบ้าน ทาวน์โฮม และคอนโด รวมทั้งวาไรตี้เกี่ยวกับบ้าน เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ส่งตรงถึงมือคุณในเว็บเดียว
Banner บน Homeday 730x90

บทความที่เกี่ยวข้อง

แนะ 5 กิฟต์เซ็ตสกินแคร์แบรนด์ดังบนช้อปปี้ พร้อมฉลองเทศกาล แห่งความสุขกับ “Shopee 12.12 ลดใหญ่วันเกิด”
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย โชว์ฟอร์มแกร่ง คว้ารางวัล Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards (ACES) ยืนหนึ่งองค์กรผลงานยอดเยี่ยมแห่งภูมิภาคเอเชีย
เอสซีจี เซรามิกส์ตอกย้ำผู้นำกระเบื้องตกแต่ง คว้ารางวัลความเป็นเลิศด้วยนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและ ESG จาก Thailand Corporate Excellence Awards 2023
Follow us
บทความล่าสุด
จะซื้อ หรือจะสร้างก็ต้องรู้! ขนาดพื้นที่ของที่อ...
แนะ 5 กิฟต์เซ็ตสกินแคร์แบรนด์ดังบนช้อปปี้ พร้อม...
ข่าวสาร
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย โชว์ฟอร์มแกร่...
ข่าวอสังหา
เอสซีจี เซรามิกส์ตอกย้ำผู้นำกระเบื้องตกแต่ง คว้...
ข่าวสาร
ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) ...
ข่าวอสังหา
รีวิวโครงการ
ดิ อิสสระ สาทร (The Issara Sathorn) FB WEB 1200x628
รีวิว ดิ อิสสระ สาทร (The Issara Sathorn) คอนโด...
Sponsor
ไฮด์พาร์ค การ์เด้น (Hyde Park Garden) FB WEB 1200x628
รีวิว ไฮด์พาร์ค การ์เด้น (Hyde Park Garden) บ้า...
Sponsor
โมดิซ โวยาจ ศรีนครินทร์ (Modiz Voyage Srinakarin) FB WEB 1200x628
รีวิว โมดิซ โวยาจ ศรีนครินทร์ (Modiz Voyage Sri...
Sponsor
ดิ อาเบอร์ ดอนเมือง แจ้งวัฒนะ (The Arbor Donmueang Chaengwattana) FB WEB 1200x628
รีวิว ดิ อาเบอร์ ดอนเมือง-แจ้งวัฒนะ (The Arbor ...
Sponsor
โกลเด้น ทาวน์ ฟิวเจอร์ รังสิต (Golden Town Future Rangsit) FB template WEB 1200x628
รีวิว โกลเด้น ทาวน์ บางนา กม.5 (Golden Town Ban...
Sponsor

โครงการบ้านแนะนำ

20210613112319 20170614100817 clubhouse
Untitled 2 32
200-528

ตร.ม.

Untitled 2 35
4

ห้องนอน

Untitled 2 36
5

ห้องน้ำ

Untitled 2 37
4

ที่จอดรถ

เริ่มต้น 55,500,000 บาท
IMG 1631974520 2664
Untitled 2 32
99, 118

ตร.ม.

Untitled 2 35
2-3

ห้องนอน

Untitled 2 36
3

ห้องน้ำ

Untitled 2 37
1-2

ที่จอดรถ

เริ่มต้น 2,390,000 บาท
IMG 1642156920 1480
Untitled 2 32
98.0

ตร.ม.

Untitled 2 35
2

ห้องนอน

Untitled 2 36
3

ห้องน้ำ

Untitled 2 37
1

ที่จอดรถ

เริ่มต้น 2,990,000 บาท
IMG 1641373951 1181
Untitled 2 32
103 - 110

ตร.ม.

Untitled 2 35
3-4

ห้องนอน

Untitled 2 36
2

ห้องน้ำ

Untitled 2 37
1-2

ที่จอดรถ

เริ่มต้น 1,290,000 บาท