ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ การเลือกพันธมิตรที่ดีจะทำให้รู้สึกเหนื่อยน้อยลง และเข้าถึงเส้นชัยได้ง่ายขึ้น ถ้าเป็นในเวลาที่เศรษฐกิจเอาแน่นอนไม่ได้ด้วยแล้ว การเดินไปพร้อมพันธมิตรคู่ใจก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่ามาก
Mergers and Acquisitions (M&A) การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปควบรวมกิจการเข้าด้วยกันแล้วจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาทำธุรกิจร่วมกัน และอีกแบบที่ธุรกิจทำกันค่อนข้างเยอะก็คือ Joint Venture (JV) การที่ 2 บริษัทร่วมกันทำโครงการหนึ่งให้สำเร็จตามที่ได้ตำลงกันเอาไว้
แผนจับคู่ มีตั้งแต่ รายใหญ่ควบรวมกับรายเล็ก เห็นได้เยอะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่รายเล็กมีที่ดินบนทำเลดี แต่ทำเองไม่ไหวเลยจับมือรายใหญ่ที่มีประสบการณ์ เงิน และโนว์ฮาวน์มากกว่ามาทำโครงการให้เกิดขึ้น บนข้อตกลงส่วนแบ่งรายได้และกำไร
แอสเซทไวส์ หนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่นำโมเดล JV มาใช้ดันธุรกิจให้โตเร็วในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา
ตัวอย่างเช่น ร่วมทุนกับบริษัท โบทานิก้า ลักซูรี่ ภูเก็ต จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในจังหวัดภูเก็ต ในโครงการโบทานิก้า แกรนด์ อเวนิว (BOTANICA Grand Avenue) พูลวิลล่าระดับลักชัวรี บนหาดบางเทา จังหวัดภูเก็ต มูลค่าโครงการกว่า 10,000 ล้านบาท
ร่วมกับบริษัท ทาคาระ เลเบ็น จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของญี่ปุ่น ทำโครงการ แอทโมซ บางนา (Atmoz Bangna) มูลค่าโครงการกว่า 2,200 ล้านบาท และ เคฟ ซี้ด เกษตร (Kave Seed Kaset) มูลค่าโครงการกว่า 1,350 ล้านบาท
ทำโครงการแอทโมซ โอเอซิส อ่อนนุช (Atmoz Oasis onnut) มูลค่าโครงการ 2,200 ล้านบาท กับ บริษัท โตเกียว ทาเทโมโนะ จำกัด (Tokyo Tatemono) บริษัทอสังหาฯ จากญี่ปุ่น
ร่วมทุนกับบริษัท ไอดีล เรียล จำกัด ทำ เคฟ มิวแทนท์ ศาลายา (Kave Mutant Salaya) มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท
แม้แต่ธุรกิจรับสร้างบ้านก็นำโมเดล JV เข้ามาเติมพลังในการทำธุรกิจ และดันโครงการใหม่ ๆให้เกิดขึ้น อย่างที่ ซีคอน จับมือ นายณ์ เอสเตท ทำ 2 โครงการโลว์ไรส์
การจัดส่วนผสมที่ลงตัวในเคสนี้เกิดจาก ซีคอน เก่งเรื่องการก่อสร้าง ส่วน นารายณ์ เอสเตท ที่นอกจากมีแบรนด์แข็งแรงแล้วยังที่ดินเปล่าในมือที่พร้อมให้หยิบนำมาพัฒนาโครงการ
เมื่อเจาะลึกในตลาดอสังหาฯ ยังมีอีกหลายคู่ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ เอพีไทยแลนด์กับมิตซูบิชิ เอสเตท, Tokyo Tatemono จากญี่ปุ่นกับเอสซี แอสเสท และคู่พันธมิตรรายล่าสุด พฤกษา x ออริจิ้น ที่จับมือกันเตรียมดัน 3 โครงการ ที่มีทั้งมิกซ์ยูส (Wellness Hotel & Service Apartment) มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท คอนโดมิเนียม มูลค่าประมาณ 2,800 ล้านบาท และ บ้านเดี่ยว มูลค่าประมาณ 980 ล้านบาท แน่นอนว่าแต่ละฝ่ายก็มองหาความถนัดแต่ละฝ่ายมาช่วยเติมเต็มโอกาสซึ่งกันและกัน
โมเดลสร้างโอกาสคูณสอง
ถ้าถามว่า JV แบบไหนเวิร์คที่สุด คำตอบคงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่ายว่าต้องการแบบไหนแล้วหาจุดสมดุลที่สร้าง win-win situation จุดที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากโมเดลความร่วมมือในลักษณะนี้ก็คือ
- การใช้เงินลงทุนต่อ 1 โครงการน้อยลง เมื่อบริษัทไม่ต้องแบกรับไว้คนเดียว
- ความรู้ และความเชี่ยวชาญ
- โอกาสทางการตลาด
- การต่อยอดทางธุรกิจ จากโครงการที่แรกไปสู่โครงการที่ 2 และ 3 ในอนาคต
- ลดข้อจำกัดให้กับตัวเอง ได้แก่ เงินลงทุน
- คู่คิดร่วมดำเนินธุรกิจที่มีความเข้าใจผู้บริโภคและตลาด
ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจยังรอวันฟื้นตัว M&A และ JV จะเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับ และทางลัดของการขยายธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด