The Palm (copy)

จังหวะเต้นของแอลพีเอ็น ในโลกธุรกิจที่ห่วงโซ่สิ่งแวดล้อม สำคัญไม่แพ้ต้นทุน

“ธุรกิจอยู่ได้ สังคมอยู่ได้ โลกอยู่ได้” Keyword ของการบริหารจัดการธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องคิดและจัดหาทุกกลยุทธ์ที่มีมาทำให้ทั้ง 3 สิ่งนี้เดินไปได้อย่างสมดุล

LPN หนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่โฟกัสอยู่กับสิ่งแวดล้อมและชุมชนมาอย่างยาวนาน และจากนี้ไปนับวันจะมีแต่เข้มข้นมากขึ้น มองแต่ละก้าวเดินจากมุมมอง ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ (LPN)

หลายเรื่องที่ LPN ทำมานานแต่การรับรู้ยังอยู่ในวงจำกัด เช่น การจัดการขยะชุมชนใน 21 โครงการนำร่อง เริ่มที่แม่บ้านเป็นคนคัดแยกขยะจากหลายโครางการรวมกัน มีประมาณ 1000 ตันกว่าเดือน สามารถนำมาเป็นขยะรีไซเคิลได้ 6% จากนั้นก็ขยายผลสู่การทำงานร่วมกับ Wake Up Waste แพลตฟอร์มที่ช่วยเก็บรวบรวมขยะตั้งแต่ต้นทาง มีคุณภาพ และการขนส่งไปรีไซเคิลไปดำเนินการต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งสำนักงานขายหลายแห่งเริ่มนำโซลาเซลส์ดึงพลังงานทดแทนมาใช้ 

การลงมือทำในเรื่องต่าง ๆ ที่มีมาจาก วิถีแอล.พี.เอ็น. (LPN Way) ว่าด้วยค่านิยม 7 ประการ คือ “C-L-A-S-S-I-C” และ 6 กรีน ที่ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ “การพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) 

C-L-A-S-S-I-C ประกอบด้วย

  1. Cost with Quality บริหารต้นทุนพร้อมคุณภาพ
  2. Lateral Thinking คิดนอกกรอบ
  3. Alliance การทำงานร่วมกับพันธมิตรด้วยความไว้วางใจและเป็นธรรม ร่วมมือเกื้อหนุนกันและกัน
  4. Speed with Quality รวดเร็วพร้อมคุณภาพ และ ล้ำหน้าผู้อื่นตลอดเวลา
  5. Service Minded ใจรักในบริการ
  6. Integrity การมีจริยธรรม
  7. Collaboration ร่วมมือร่วมใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

การดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG (Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ถือเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ก็เป็นอีกหลักคิดที่ LPN ให้ความสำคัญ​ทั้งสิ่งแวดล้อม โซเชียล และ ธรรมมาภิบาล

“ในนิยามของเรานั้น E เกี่ยวกับทรัพยากร ทุกครั้งที่ทำธุรกิจเราก็เบียดเบียนโลก เพราะเอาทรัพยากรโลกมาแปรสภาพแล้วขายต่อ ถ้าเราไม่ดูแลโลกสักวันทรัพยากรก็หมดไป 

S ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ แต่ละคนมีความต้องการหรือสิ่งที่ควรจะได้ไม่เหมือนกัน ถ้าหากสามารถบริหารจัดการให้ทุกคนได้ในสิ่งที่ใกล้เคียงกันก็จะสามารถดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี และสุดท้าย G กำไรที่ได้มาจะแบ่งปันกันอย่างไร

การบาลานซ์ผู้มีส่วนได้เสีย และกลยุทธ์ที่เลือกมาใช้นั้นนำไปสู่ปฏิบัติได้ จะนำไปสู่ Sustainability และอยู่รอดได้ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใด ซึ่งเราก็ผ่านมาได้โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ก็ด้วยการ Practice”

กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ LPN ทำมาโดยตลอด และอยู่ระหว่างการทำให้ทุกอย่างเป็นเวอร์ชั่นที่อัพเกรด และดีขึ้นกว่าเดิม

  1. เริ่มจาก Green Enterprise ธุรกิจที่ให้ความสำคัญ กับการบริหารจัดการ และทุนมนุษย์
  2. Green Design Concept การออกแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาเครื่องมือมาใช้สำหรับเช็คลิสต์งานในส่วนกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบโครงการที่คำนึงถึงทิศทางแดดลม มีช่องทางให้ลมผ่านได้ เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าหลังจากการเข้าอยู่แล้วจะมีค่าการใช้พลังงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  3. Green Construction Process การบริหารจัดการผลกระทบที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมในกระบวนการก่อสร้าง “ตอนนี้เรากำลังทำเรื่องกรีน คอนสครัคชั่น โดยมีเครื่องมือในการตรวจเช็คตลอดทางของการก่อสร้างว่าแต่ละจุดเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าเจาะช่องหน้าต่างต้องใช้กระจกมากกว่าเดิมเป็นจำนวนเท่าไหร่ที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ต้องมองหาจุดสมดุลด้วยว่าทำอย่างไรที่ผู้อยู่อาศัยจะใช้ชีวิตที่สบายและมีความสุขด้วย ซึ่งเป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดที่บอกค่าได้แบบเรียลไทม์”
  4. Green Marketing Management การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่ง LPN ทำในสิ่งที่สัญญาไว้กับลูกค้า เงื่อนไขตรงไปตรงมา
  5. Green Community Management การดูแลและบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการหลังส่งมอบ ซึ่งทำกันในตลอดเส้นทางตั้งแต่รับมอบบ้านจนถึงเข้าอยู่แล้ว หรือที่เรียกว่า Life quality management
  6. และสุดท้าย Green Financial Management การกำหนดผลตอบแทนและการเติบโตขององค์กรให้เหมาะสม

ประพันธ์ศักดิ์​ บอกถึงความตั้งใจของ LPN ในการสร้างบ้านคุณภาพดี ราคาจับต้องได้ ไปพร้อมกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย

โดย LPN วางเป้าหมาย Carbon neutrality (อัตราการปล่อย CO2เท่ากับอัตราการดูดซับของ CO2) ให้ได้ในปี ค.ศ.2030 ซึ่งจากผลงานการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2021 เทียบกับรายได้จะอยู่ที่ 2.2 ตันต่อรายได้ 1 ล้านบาท ส่วนปี 2022 อยู่ที่ 1.24 ตัน เท่ากับเราผลิตมลภาวะน้อยลง ต่อรายได้ที่ทำ ประมาณ 45% ในปีที่ผ่านมา และก็คาดหวังว่าตัวเลขของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงเรื่อย ๆ เฉลี่ยปีละ 2.5-5% 

การจะเดินไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ต้องอาศัยความทุ่มเทเป็นอย่างมาก เพราะยังมีความท้าทายอีก 3 เรื่องที่รออยู่

  1. หนึ่ง ต้นทุน จะบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิด Benefit กับโลก และสังคมได้ด้วย
  2. สอง การทำธุรกิจในยุคนี้ไม่ง่าย ความรู้ และเทคโนโลยี เปลี่ยนไปทุกวัน เพราะเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในวันนี้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ในวันพรุ่งนี้ และวันต่อ ๆ ต่อไป
  3. สาม วัฒนธรรม และมายด์เซ็ทของผู้คน การไม่มีมายด์เซ็ทในการดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ในการขับเคลื่อน เพราะคนได้แต่ทำให้เสร็จ ไม่ได้ทำให้สำเร็จ 

“การพัฒนา 6 Green ที่เป็น New version ก็ค่อย ๆ ทำไป เพราะยังมองเรื่องต้นทุนและความสามารถในการทำกำไร และการบริหารต้นทุนสำคัญ เชื่อว่าในปีนี้ทุกดีเวลลอปเปอร์จะเจอปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของการทำรายได้ ดังนั้นเรื่องนี้ต้องมาก่อน เรื่องนวัตกรรมก็ไม่ควรหยุดทำ แต่จะใช้สปีดเท่าไหร่นั้นคงต้องพิจารณา ก่อนหน้านี้อาจจะเต้นในจังหวะชะชะช่า ตอนนี้อาจเป็นการเต้นแทงโก้ สลับกันไปช้าบ้างเร็วบ้างให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ ธุรกิจจะเดินไปข้างหน้าได้ ทำแล้วต้องมีกำไร สังคมอยู่ได้ และโลกที่ได้รับการดูแล

อ่านเพิ่ม

หมายเหตุ ข้อจำกัดความรับผิดชอบ : บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลทั่วไปสำหรับเว็บไซต์ Homeday โดย บริษัท โฮมเดย์ กรุ๊ป จำกัด เท่านั้น บริษัทไม่สามารถให้คำมั่นหรือคำรับประกันเกี่ยวกับเนื้อหา รวมถึงไม่สามารถรับรองความเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์เฉพาะใดๆ ตามขอบเขตของกฎหมาย เราจะพยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลที่ปรากฏในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วนสมบูรณ์ ณ เวลาที่จัดทำ ข้อมูลดังกล่าวไม่ควรนำไปใช้ในการพิจารณาตัดสินใจด้านการเงิน การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประเด็นกฎหมายโดยทันที ผู้อ่านไม่ควรอาศัยข้อมูลในบทความนี้แทนคำแนะนำจากผู้ชำนาญการที่ได้รับการฝึกฝนซึ่งสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและสภาวะเฉพาะของท่านได้ ทั้งนี้ ทางบริษัทจะไม่รับผิดชอบใดๆ หากท่านเลือกที่จะนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจของท่าน

Sidebar
The Palm (copy)
บทความล่าสุด
“SYS” เปิดตัว “โครงเหล็กสำเร็จรูป Steel Solution by SYS” ชูจุดเด่นติดตั้งเสร็จไวภายใน 60 วัน ยกระดับงานก่อสร้างยุคใหม่
ข่าวสาร
เมื่อ ‘นวัตกรรมกรีน’ คือ ‘ทางรอด’ เอสซีจี นำเวที INTERCEM Asia 2025 งานประชุมผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องในเชนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับโลก ปฏิวัติวงการปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ
ข่าวสาร
ผลิตภัณฑ์ Ax Tile EcoSoft® จาก Royal Thai แบรนด์ในเครือ TCM Corporation ได้รับรางวัล ASA Platform Selected Materials 2025
ข่าวสาร
เผยโฉมครั้งแรก! “เดมี พระราม 9 – เหม่งจ๋าย” ลักซ์ชัวรี เรสซิเดนท์ เพียง 18 ครอบครัวจากแสนสิริ ทำเลใจกลางเมืองย่านพระราม 9 เริ่ม 27.9 ลบ.
ข่าวสาร
มูลนิธิ เรนวูด (ประเทศไทย) มอบเงินบริจาค 5 ล้านบาทแก่รัฐบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
ข่าวสาร
รีวิวโครงการ
รีวิว เดอะ ซิกเนเจอร์ สุขุมวิท 77 (The Signature Sukhumvit 77) บ้านหรูระดับ Super Luxury บททำเลอ่อนนุช-ลาดกระบัง
Review
รีวิว เคฟ เพลย์กราวด์ ลาดพร้าว-บดินทรเดชา (Kave Playground Ladprao-Bodindecha) คอนโดใหม่ Fully Furnished ติดบดินทรเดชาฯ ส่วนกลางจัดเต็ม 60 รายการ และโซน Pet-Friendly แยกตึก
Review
รีวิว ศุภาลัย เลค วิลล์ จันทบุรี (Supalai Lake Ville Chanthaburi) บ้านหรูสไตล์ Tropical Modern ใจกลางธรรมชาติริมทะเลสาบกว่า 10 ไร่ พร้อมฟังก์ชันครบครัน รองรับชีวิตระดับพรีเมียมในทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดของจันทบุรี
Review
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Review
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Review
Loading..