ตัวชี้วัดของตลาดอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์

         ตลาดอสังหาริมทรัพย์ลอจิสติกส์เติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 เนื่องจากมีความต้องการพื้นที่จัดเก็บสินค้ามากขึ้นจากบริษัทลอจิสติกส์ ( 3PL) และสินค้าอุปโภคบริโภค ควบคู่กับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ การดูดซับสุทธิเพิ่มขึ้น 282,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ส่งผลให้อัตราการครอบครองพื้นที่แตะระดับ 88%

ตัวเลขที่สำคัญ

  • อุปทานรวมของคลังสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3.8% ครึ่งปีต่อครึ่งปี คิดเป็นพื้นที่ 5.57 ล้านตร.ม.
  • อัตราการครอบครองโดยรวมอยู่ที่ 87.6% เพิ่มขึ้น 1.9% ครึ่งปีต่อครึ่งปี
  • ราคาค่าเช่าเฉลี่ยยังคงเดิมที่ 159 บาท/ตร.ม./เดือน
  • อัตราการดูดซับสุทธิเชิงบวกอยู่ที่ 282,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 11.7% จากครึ่งปีก่อนหน้า ส่งผลให้พื้นที่ครอบครองทั้งหมดเพิ่มขึ้น 6.1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี อยู่ที่ 4.88 ล้านตารางเมตร
  • ความต้องการที่แข็งแกร่งจากบริษัทลอจิสติกส์ ( 3PL)  อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้อัตราการดูดซับสุทธิในครึ่งแรกของปี 2566 อยู่ที่ 282,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 12% จากครึ่งหลังของปี 2565

เศรษฐกิจภาพรวม

        ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.2% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐที่หดตัว และการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าเศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ปัจจัยหลักที่เกื้อหนุนการเติบโตของจีดีพีในช่วงเวลานี้มาจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเพิ่มขึ้น 6.8% ปีต่อปี ลดลงเล็กน้อยจาก 7.3% ปีต่อปีในครึ่งหลังของปี 2565 ในทางกลับกัน ค่าใช้จ่ายสาธารณะลดลง 5.3% ปีต่อปีในครึ่งปีแรก หลังจากที่ลดลง 4.2% ปีต่อปีในครึ่งปีก่อน เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ลดลงเป็นอย่างมาก เงินทุนคงที่ชะลอตัว โดยเพิ่มขึ้นแค่ 1.8% ปีต่อปีในครึ่งแรกของปี ซึ่งลดลงจาก 4.7% ปีต่อปีในครึ่งปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการลงทุนของภาครัฐช่วงรัฐบาลรักษาการณ์ลดลง มูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวเล็กน้อยที่ 1.4% ปีต่อปี ลดลงจาก 3.9% ปีต่อปีในครึ่งปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกลดลง โดยเฉพาะอุปกรณ์จัดเก็บ เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี และสินค้าเกษตร เช่น ยางและน้ำมันปาล์ม มูลค่าการนำเข้าก็ชะลอตัวเช่นกัน ลดลง 1.7% ปีต่อปี เทียบกับมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 2.3% ปีต่อปีในครึ่งปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากการหดตัวของความต้องการวัตถุดิบและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

         ในส่วนของภาคการผลิต ไม่รวมภาคเกษตรกรรม ประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรมและบริการ คิดเป็น 90% ของจีดีพี เติบโต 2.1% ปีต่อปีในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหดตัวลง2.7% ปีต่อปี แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมบริการ มีการขยายตัวถึง 4.7% ปีต่อปี โดยเฉพาะในภาคการบริการ การขนส่งและการจัดเก็บ ขยายตัว 10.0% ปีต่อปี ในขณะที่กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์เติบโตสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยที่ 2.2% ปีต่อปี

         เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับลอจิสติกส์ สถิติจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (OIE) ระบุว่าดัชนีการผลิตลดลงเล็กน้อยจาก 97 ในครึ่งหลังปี 2565 เหลือ 94 ในครึ่งแรกของปี 2566 ในขณะเดียวกัน ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจาก 136 เป็น 139 การผลิตที่ลดลงและระดับสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกในอนาคต

อุปทาน

อุปทานปัจจุบัน

        อุปทานรวมของคลังสินค้าสำเร็จรูปคิดเป็นพื้นที่ 5.57 ล้านตร.ม. โดยมีพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มขึ้น 203,150 ตร.ม. เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2565 เพิ่มขึ้น 3.8% ครึ่งปีต่อครึ่งปี และ 9.3% ปีต่อปีอุปทานใหม่ได้แก่ คลังสินค้าเอ็มพี (หนองยายบู่), คลังสินค้าเคอาร์ ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 3, นามยง ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1, เขตประกอบการเสรีกรุงเทพ 4 ที่ฉะเชิงเทรา และเขตประกอบการเสรีกรุงเทพ 6 ที่สมุทรปราการ

การกระจายตัวของอุปทาน

        การกระจายตัวของคลังสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 เขตหลัก เขตกรุงเทพและปริมณฑลยังคงถือครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด คิดเป็น 45% ของอุปทานคลังสินค้าทั้งหมด โดย 40% อยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และ 3% ในกรุงเทพมหานคร อุปทานในเขตพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดครองส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 38% ของอุปทานคลังสินค้าโดยรวม ชลบุรีขึ้นนำโดยมีส่วนแบ่งที่ 24% รองลงมาฉะเชิงเทรา 9% ส่วนภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการขนส่งภายในประเทศที่สำคัญ คิดเป็น 13% ของพื้นที่คลังสินค้าเก็งกำไรทั้งหมด รองลงมาคือปทุมธานี 3%

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 อุปทานในทุกเขตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ให้เช่าสุทธิในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้น 2.8% ครึ่งปีต่อครึ่งปี แตะ 2.5 ล้านตร.ม. เขตอีสเทิร์นซีบอร์ดตามมาติดๆ โดยมีการขยายตัวมากที่สุดในครึ่งปีนี้ ที่ 5.5% เกือบแตะระดับ 2.1 ล้านตร.ม. ส่วนภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ มีการเติบโตปานกลางที่ 3.0% ครึ่งปีต่อครึ่งปี รวมพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด 944,700 ตร.ม.

อุปทานในอนาคต

        อุปทานรวมของพื้นที่ให้เช่าในอนาคตอยู่ที่ 505,300 ตร.ม. ซึ่งประกอบด้วย 267,600 ตร.ม. ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 และ ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปอีก 237,700 ตร.ม. พื้นที่ในอนาคตนี้คิดเป็น 9% ของอุปทานในปัจจุบัน ประมาณ 44% ของอุปทานในอนาคตตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอีสเทิร์นซีบอร์ด รองลงมาคือกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คิดเป็น 39% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการโยกย้ายพื้นที่เช่ามายังเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด เนื่องจากมีต้นทุนที่ดินและอัตราค่าเช่าที่ต่ำกว่า

อุปสงค์

        ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ภาคอสังหาริมทรัพย์ลอจิสติกส์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการดูดซับสุทธิเชิงบวกอยู่ที่ 282,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 11.7% จากครึ่งปีก่อน ส่งผลให้พื้นที่ครอบครองทั้งหมดเพิ่มขึ้น 6.1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี อยู่ที่ 4.88 ล้านตารางเมตร

        อุปสงค์ถูกขับเคลื่อนจากบริษัทหลักๆ ได้แก่ บริษัทโลจิสติกส์ (3PL) ) สินค้าอุปโภคบริโภค(FMCG) และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่คลังสินค้าจำนวนมาก เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ปีนี้เราได้เห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบกับแรงหนุนจากการผลักดันทั่วโลกในเรื่องของความยั่งยืนและเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero goals) ในส่วนของแหล่งที่มานักลงทุน นักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังคงถือส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาดคลังสินค้าของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของนักลงทุนเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อนักลงทุนชาวจีนเริ่มเข้ามาลงทุนและถือครองส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น

        อัตราครอบครองในตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สาเหตุหลักมาจากความต้องการอสังหาริมทรัพย์ด้านลอจิสติกส์เพิ่มขึ้น ในขณะที่การก่อสร้างใหม่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงหลังของปี 2565 การขยายตัวนี้ส่งผลให้อัตราการครอบครองโดยรวมอยู่ที่ 87.6% ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบสิบปีที่ผ่านมา

        ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BMR) มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยอัตราการครอบครองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% ครึ่งปีต่อครึ่งปี เขตนี้มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซซึ่ง มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้านี้ แต่มีการขยายตัวที่ช้าลงในปี 2566 แต่เขตนี้ก็ยังคงมีอัตราการครอบครองสูงสุดที่ 91.4%

       ส่วนของเขตอีสเทิร์นซีบอร์ดมีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด เติบโตขึ้น 2.3% ครึ่งปีต่อครึ่งปี คิดเป็นอัตราการครอบครองที่ 83.6% การฟื้นตัวนี้ตรงข้ามกับอัตราการครอบครองที่ลดลงในช่วงครึ่งปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการเปิดตัวของอุปทานใหม่หลายโครงการ โดยจะเห็นได้ชัดจากระยะเวลาที่ถูกปล่อยเช่าอย่างรวดเร็วและระยะเวลาที่อสังหาริมทรัพย์ถูกปล่อยว่างหลังจากก่อสร้างเสร็จสิ้นนั้นสั้นมาก ตอกย้ำถึงความต้องการที่แข็งแกร่งในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด

       เขตภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินงานโดดเด่น โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว และจำนวนพื้นที่คลังสินค้าใหม่ที่เก็งกำไรค่อนข้างมีน้อย เขตนี้มีการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตราการครอบครองเพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจที่สุด ที่ 4.8 เท่าครึ่งปีต่อครึ่งปี ที่ 86.3%

อัตราค่าเช่า

       ราคาเช่าคลังสินค้าสำเร็จรูปโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 159 บาท/ตร.ม./เดือนในครึ่งแรกของปี 2566 มีอสังหาริมทรัพย์บางแห่งปรับลดค่าเช่าลงเพื่อระบายยูนิตที่ว่าง ในขณะที่ค่าเช่าเฉลี่ยสำหรับคลังสินค้าใหม่อยู่ที่ประมาณ 180 บาท

       ราคาค่าเช่าเฉลี่ยในทุกพื้นที่ยังคงที่ ในพื้นที่เขตกรุงเทพและปริมณฑลอยู่ที่ 160 บาท เขตอีสเทิร์นซีบอร์ด (EEC) อยู่ที่ 162 บาท ภาคกลางอยู่ที่ 147 บาท และภูมิภาคอื่นๆอยู่ที่ 107 บาท เขตอีสเทิร์นซีบอร์ด (EEC) เป็นเขตเดียวที่ค่าเช่าขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 100 บาทเป็น 120 บาท ในขณะเดียวกัน ค่าเช่าสูงสุดยังคงทรงตัวในทุกพื้นที่ ยกเว้นเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่เพดานสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 200 บาท เป็น 230 บาท

       เนื่องจากการเติบโตของค่าเช่าคลังสินค้าในประเทศไทยค่อนข้างจำกัด เราได้ทำการประเมินเพื่อเปรียบเทียบค่าเช่าคลังสินค้าในประเทศไทยกับประเทศต่างๆทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ในบรรดากลุ่มประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย จีน และอินเดีย ค่าเช่าของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 4 มีแค่ประเทศอินเดียที่เสนอราคาที่ไม่แพงมาก ที่ 97 บาท/ ตรม./ เดือน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (PPP) จากธนาคารโลกเพื่อพิจารณาถึงความแตกต่างของราคาในสถานที่ต่างๆ ประเทศไทยมีพื้นที่คลังสินค้าที่มีราคาแพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ตามหลังจีนมาติดๆ ซึ่งคิดค่าเช่า164 บาท/ ตรม./ เดือน จากข้อมูลดังกล่าว จึงสามารถอธิบายถึงสาเหตุที่ตลาดคลังสินค้าของประเทศไทยทำไมถึงเติบโตช้า เนื่องจากว่าอัตราค่าเช่าในประเทศไทยนั้นค่อนข้างสูง เทียบกับอัตราค่าเช่าในประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน

ภาพรวมและแนวโน้มตลาด

        ตลาดอสังหาริมทรัพย์ลอจิสติกส์มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 อัตราการดูดซับสุทธิแสดงให้เห็นถึงความต้องการพื้นที่คลังสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 282,000 ตร.ม. หรือ 12% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปี 2565 แรงขับเคลื่อนอุปสงค์หลักๆมาจากบริษัทลอจิสติกส์ (3PL) ซึ่งมีบทบาทสำคัญมาโดยตลอดนับตั้งแต่ยุคอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ก็เติบโตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งได้รับแรงหนุนหลักจากการขยายการผลิตและการย้ายที่ตั้งมาจากประเทศจีน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ความต้องการคลังสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นแซงหน้าอุปทานใหม่ อัตราการครอบครองโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 88% ในขณะที่ราคาค่าเช่าในตลาดยังคงที่

      ในส่วนภูมิทัศน์ของโลจิสติกส์ยุคใหม่ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีถูกนำมาแทนที่การปฏิบัติงานแบบเดิมๆ เทรนด์ที่ชัดเจนคือการนำโซลูชันระบบคลังสินค้าอัตโนมัติมาใช้ โดยมียานพาหนะนำทางอัตโนมัติที่เรียกว่า AGV ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้อย่างกว้างขวางที่สุด AGV คือระบบการนำทางอัตโนมัติผ่านคลังสินค้าโดยใช้เซ็นเซอร์และระบบควบคุมขั้นสูง ทำให้การเคลื่อนย้ายวัสดุและงานต่างๆ เช่น การหยิบ การจัดเก็บ และการขนส่งสินค้าคล่องตัวขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ หุ่นยนต์พกพาเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในคลังสินค้าสมัยใหม่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีหน่วยธุรกิจจำนวนมาก (BUs)

         ถึงแม้ว่า AGV จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่และถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในตลาดโลจิสติกส์หลักๆทั่วโลก แต่การใช้งานในประเทศไทยยังคงกระจุกตัวอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการประหยัดต่อขนาด เช่นเดียวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ เมื่อเทคโนโลยี AGV เข้าถึงได้มากขึ้น แนวโน้มที่ธุรกิจต่างๆจะนำไปใช้ในวงกว้างก็มีมากขึ้นเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงนี้มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมศักยภาพขององค์กรและช่วยให้พวกเขามีประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการใช้ทรัพยากรบุคคล และก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

อ่านเพิ่ม
Sidebar
TIK TOK
บทความล่าสุด
กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ มองเศรษฐกิจโลก 2025 ฟื้นตัว แม้มีปัจจัยเสี่ยง ชี้ตราสารหนี้และหุ้นยังคุ้มค่าท่ามกลางความผันผวน
กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ มองเศรษฐกิจโลก 2025 ฟื้นตัว แม้มีปัจจัยเสี่ยง ชี้ตราสารหนี้และหุ้นยังคุ้มค่าท่ามกลางความผันผวน
ข่าวการเงิน
Thailand Privilege Card จับมือ ASAVA ปรับโฉมยูนิฟอร์มด้านบริการ ภายใต้คอนเซปต์ GRACE สะท้อนอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยสู่สากล
Thailand Privilege Card จับมือ ASAVA ปรับโฉมยูนิฟอร์มด้านบริการ ภายใต้คอนเซปต์ GRACE สะท้อนอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยสู่สากล
ข่าวธุรกิจ
“เครือสหพัฒน์” จัดสัมมนาเสริมบทบาทคณะกรรมการ ESG เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
“เครือสหพัฒน์” จัดสัมมนาเสริมบทบาทคณะกรรมการ ESG เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
ข่าวธุรกิจ
กสิกรไทยส่งบริการมัดใจตลาดเวียดนาม กวาด 2 รางวัลใหญ่ ระดับนานาชาติ สุดยอดบัตรเครดิตใหม่และสุดยอดธนาคารแห่งใหม่เพื่อเอสเอ็มอีออนไลน์
กสิกรไทยส่งบริการมัดใจตลาดเวียดนาม กวาด 2 รางวัลใหญ่ ระดับนานาชาติ สุดยอดบัตรเครดิตใหม่และสุดยอดธนาคารแห่งใหม่เพื่อเอสเอ็มอีออนไลน์
ข่าวการเงิน
‘พฤกษา’ ตอกย้ำผู้นำด้านอสังหาฯ ผนึกความเชี่ยวชาญด้านการอยู่อาศัย สู่การสร้างชุมชนสุขภาพดี มอบสิทธิพิเศษ และโครงการดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568
‘พฤกษา’ ตอกย้ำผู้นำด้านอสังหาฯ ผนึกความเชี่ยวชาญด้านการอยู่อาศัย สู่การสร้างชุมชนสุขภาพดี มอบสิทธิพิเศษ และโครงการดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568
ข่าวสาร
รีวิวโครงการ
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย วิลล์ ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้าน Design ใหม่ พื้นที่ใหญ่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทุก Lifestyle เป็นส่วนตัวเพียง 66 แปลง ส่วนกลางครบครัน บนทำเลที่โดดเด่น โซนปิ่นเกล้า-ศาลายา
Sponsor
รีวิว บ้านกรีนเฮ้าส์ รังสิต สเตชั่น-ซ.เวิร์คพอยท์ คอนโดแนวคิดใหม่ สไตล์ทาวน์โฮม 2 ชั้น 2 นอน 2 น้ำ บนทำเลรังสิต-ปทุมฯ ใกล้ทางด่วนฯ, โทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต
Sponsor
รีวิว นิรติ ดอนเมือง (NIRATI DONMUEANG) บ้านและทาวน์โฮม NEW SERIES 2.5 ชั้น พร้อมส่วนกลางกว่า 4 ไร่* ที่สุดของทำเลศักยภาพ เพียง 5 นาที* ถึงสนามบินดอนเมือง
Sponsor
Loading..