บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ร่วมปลูกป่าเพื่อสร้างอาชีพไร้ควันที่ยั่งยืน นำโดย ดร.วุฒิพันธุ์ ตวันเที่ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายวุฒิพงศ์ บุญยะสิทธิ์ นางจันทร์จิรา มะลิต้น และนางวิภาศิริ แสงวัชระกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมพนักงานจิตอาสาจาก BAM ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ร่วมกับ บริษัท เฮช ฟรี จำกัด และเกษตรกรในชุมชนบ้านห้วยตอง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่ปลูกป่าในโครงการต้นแบบ “การปลูกป่าเพื่อสร้างอาชีพไร้ควันที่ยั่งยืน” เพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ทดแทนพื้นที่เสื่อมโทรม และสร้างรายได้จากผลผลิตให้เกษตรกรได้มีรายได้ที่มั่นคง โดยมีอาจารย์ปองทิพย์ เที่ยงบูรณธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฮช ฟรี จำกัด และนายสำราญ รัตนชัยประสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยตอง (เจ้าของพื้นที่) นำทีมลงพื้นที่ปลูกป่า
สำหรับโครงการต้นแบบ “การปลูกป่าเพื่อสร้างอาชีพไร้ควันที่ยั่งยืน” เป็นโครงการนำร่องของ BAM ที่สนับสนุน บริษัท เฮช ฟรี จำกัด หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคมไร้ควัน Haze Free Social Enterprise ที่มุ่งส่งเสริม ให้ชาวบ้านปลูกป่าบนพื้นที่ทำกิน ด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นวนเกษตร เพื่อลดปัญหาฝุ่นควันในเขตภาคเหนือ ลดการเผาป่า ลดการใช้สารเคมี และส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรได้มีรายในระยะยาวที่มั่นคงอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ BAM มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยบทบาทความรับผิดชอบในฐานะเป็นสถาบันการเงินที่มุ่งมั่นสนับสนุน การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 2 : ขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 3 : มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ เป้าหมายที่ 5 : ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่ 6 : การจัดการน้ำและสุขาภิบาล เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและถิ่นฐานยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 : แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
ในปี 2568 BAM ได้ลงนามพื้นที่ปลูกภายใต้โครงการนี้ บนพื้นที่ปลูกของ นางนงคราญ สุดเสรี จำนวน 4 ไร่ และ นางสาวิตรี โชคอำนวยชัยกุล จำนวน 3 ไร่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 7 ไร่ โดยแบ่งสัดส่วนพันธุ์ไม้เป็นไม้ผล 50% ไม้โตเร็ว 30% ไม้มีค่า 20% รวมพันธุ์ต้นไม้กว่า 13 ชนิด เช่น อะโวคาโด มะม่วง ขนุน กระถินเทพา สะเดา สัก ยางนา พยุง เป็นต้น รวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 700 ต้น ซึ่ง BAM พร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณ ในการติดตามประเมินผลดำเนินงานเป็นระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ BAM สามารถขอการรับรองการกักเก็บคาร์บอน
จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตลอดระยะเวลาให้การสนับสนุน