KAVE playground

แคสเปอร์สกี้ระบุ ปี 2024 จำนวนเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 125.91%

รายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำปี 2024 ระบุว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยได้มากกว่า 730,000 รายการ 

แคสเปอร์สกี้ระบุ ปี 2024 จำนวนเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 125.91%

รายงาน Kaspersky Security Network บันทึกเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2024 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 732,620 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้น 125.91% เมื่อเทียบกับปี 2023 ที่ตรวจพบจำนวน 324,295 รายการ 

ย้อนกลับไปในปี 2019 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์อันตรายจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยมากที่สุด โดยตรวจพบ จำนวน 1,088,189 รายการ และลดลงในอีกสองปีถัดมา คือปี 2020 (273,458 รายการ) และปี 2021 (192,217 รายการ) อย่างไรก็ตาม จำนวนเหตุการณ์อันตรายได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2022 (364,219 รายการ) และปี 2023 (324,295 รายการ) และเพิ่มสูงสุดอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว โดยแคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์จำนวนทั้งสิ้น 732,620 รายการ 

ผู้ก่อภัยคุกคามจะโจมตีและใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกละเมิดเพื่อโฮสต์เว็บไซต์ใช้ส่งมัลแวร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ทันระวังจะถูกหลอกล่อเข้าสู่เว็บไซต์อันตรายโดยใช้โฆษณาปลอม ลิงก์ฟิชชิงในอีเมล SMS และวิธีการอื่นๆ จากนั้นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเหยื่อจะถูกอาชญากรไซเบอร์สำรวจเพื่อหาช่องโหว่และช่องทางละเมิด ในขณะที่ผู้ใช้เผชิญกับภัยคุกคามออนไลน์จากสถานการณ์ดังกล่าว โซลูชันของแคสเปอร์สกี้จะตรวจจับและบล็อกภัยคุกคามนั้น อีกทั้งยังค้นหาและบันทึกแหล่งที่มาของภัยคุกคามด้วย 

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้หกปีแล้วนับตั้งแต่ พ.ศ. 2562 (2019) ประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลหลายครั้ง ซึ่งเกิดจากอาชญากรไซเบอร์ที่แทรกซึมเข้าระบบและเกิดจากมาตรการป้องกันที่ไม่เพียงพอ เหตุการณ์สำคัญในประเทศมีทั้งการละเมิดข้อมูลและการโจมตีโรงพยาบาลท้องถิ่นและโรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง สายการบิน ธนาคารและสมาคมธนาคาร บริษัทประกันภัย เครือร้านอาหารทั่วประเทศ ระบบส่วนกลางรับนักศึกษามหาวิทยาลัย และระบบการลงทะเบียนวัคซีนของรัฐ 

นายเอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกละเมิดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ภาคส่วนศูนย์ข้อมูลของไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ เช่น การใช้บริการคลาวด์ที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่มากขึ้น และความต้องการโซลูชันการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่เพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี 2030 ตลาดจะมีมูลค่าถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนถึงอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ประมาณ 13.1% เห็นได้ชัดว่าอาชญากรไซเบอร์รับรู้ถึงการเติบโตของศูนย์ข้อมูลในประเทศและเกาะกระแสนี้เพื่อหาประโยชน์”

ผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่ร้ายแรงอาจขยายวงออกไปเกินขอบเขตของไอทีและความปลอดภัยทั้งหมด การตอบสนองต่อการโจมตีในเบื้องต้นควรให้ความสำคัญกับการระบุ ควบคุม และกู้คืน ทั้งนี้การพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน แม้ว่าการตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างรวดเร็วจะช่วยไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ แต่ประเด็นสำคัญคือ องค์กรควรพิจารณาสิ่งต่างๆ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการป้องกันการโจมตีที่คล้ายคลึงกันในอนาคต

แนวทางปฏิบัติหลังเกิดเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพื่อยกระดับความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร

  • การมีส่วนร่วมของบุคลากร

นอกจากทีมไอทีและความปลอดภัยแล้ว ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบไอที และเวนเดอร์บุคคลที่สามที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรือมีส่วนร่วมในการตอบสนองควรมีส่วนร่วมกัน การสร้างบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ ข้อผิดพลาดจะได้รับการแก้ไข ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวโทษและการจัดการข้อมูลเนื่องจากจะทำลายความปลอดภัยในระยะยาวขององค์กร 

บริษัทหลายแห่งเลือกที่จะเก็บรายละเอียดของเหตุการณ์ไว้เป็นความลับเนื่องจากกังวลเรื่องความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเสี่ยงเผชิญกับการโจมตีที่คล้ายกันในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้และข้อมูลบางส่วนควรเก็บเป็นส่วนตัว แต่สิ่งสำคัญคือต้องมุ่งเน้นให้มีความโปร่งใสสูงสุดในการตอบสนองต่อเหตุการร์ ควรสื่อสารรายละเอียดของการโจมตีและมาตรการที่ดำเนินการแก่เครือข่ายที่เชื่อถือได้ในชุมชนความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่คล้ายกันได้

  • การวิเคราะห์เหตุการณ์โดยละเอียด

การวิเคราะห์หลังเหตุการณ์ช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ผู้ไม่หวังดีเจาะเข้าไปในองค์กรได้อย่างไรและเมื่อใด จุดอ่อนและช่องโหว่ใดบ้างที่ถูกใช้ประโยชน์ การโจมตีเกิดขึ้นได้อย่างไร การระบุการกระทำของผู้โจมตีและความพยายามในการตอบสนองเป็นไทม์ไลน์จะช่วยระบุได้ว่าความผิดปกติถูกตรวจพบเมื่อใด ดำเนินการตอบสนองอย่างไร ทีมงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับการติดต่อทันทีหรือไม่ และปฏิบัติตามสถานการณ์การยกระดับปัญหาหรือไม่

ควรบันทึกคำตอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงบันทึก SIEM ไทม์สแตมป์สำหรับตัวจัดการงาน ไทม์สแตมป์สำหรับอีเมลที่ส่ง เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยสร้างภาพรวมที่สมบูรณ์และละเอียดถี่ถ้วน ทำให้ประเมินความเร็วและประสิทธิภาพของขั้นตอนการตอบสนองแต่ละขั้นตอนได้

นอกจากนี้ จำเป็นต้องประเมินผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของธุรกิจ เช่น ความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ความสมบูรณ์ของข้อมูลและการรั่วไหล การสูญเสียทางการเงิน และชื่อเสียงของบริษัท เพื่อช่วยสร้างสมดุลระหว่างขนาดและต้นทุนของเหตุการณ์ กับขนาดและต้นทุนของมาตรการในการเสริมสร้างความปลอดภัยของข้อมูล

  • การระบุจุดแข็งและจุดอ่อน

รายงานทางเทคนิคอาจระบุว่าผู้โจมตีเข้าสู่ระบบโดยใช้ช่องโหว่เฉพาะ องค์กรจึงต้องแก้ไขช่องโหว่นั้นบนเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด ทั้งนี้รายงานควรระบุรายละเอียดสำคัญ เช่น ช่องโหว่นี้ไม่ได้รับการแก้ไขนานเพียงใด มีช่องโหว่อื่นๆ บนเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ มีการกำหนดลำดับความสำคัญของช่องโหว่ภายในบริษัทหรือไม่

แต่ละขั้นตอนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โจมตีจำเป็นต้องมีการสืบสวนเพื่อตรวจสอบปัญหาความปลอดภัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น การสืบสวนและการพิจารณาควรพิจารณาในเชิงบวกว่าทีมงานตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหรือไม่ เทคโนโลยีที่มีอยู่ช่วยในการบรรเทาผลกระทบหรือไม่ ประสบการณ์นี้สามารถนำไปใช้ในที่อื่นได้หรือไม่

  • การวางแผนการปรับปรุง

การวางแผนเพื่อการปรับปรุงเป็นขั้นตอนที่สร้างสรรค์ที่สุดและท้าทายที่สุดในการวิเคราะห์เหตุการณ์ องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาขั้นตอนที่มีประสิทธิผลและทำได้จริงเพื่อแก้ไขจุดอ่อนทั้งที่ทรัพยากรจำกัด ประเด็นที่ควรพิจารณาในแผนงาน ได้แก่ การอัปเดตแผนที่ทรัพยากรไอที เทคโนโลยีการตรวจจับและการตอบสนอง กระบวนการและนโยบาย และปัจจัยด้านมนุษย์และพฤติกรรม การให้ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

การปฏิบัติตามกระบวนการใหม่อาจมีความท้าทายมากกว่าและต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการฝึกอบรม เอกสารแจ้งเตือนจากผู้บริหารและโปรแกรมจูงใจมีส่วนช่วยให้การนำกฎระเบียบใหม่มาใช้โดยสมบูรณ์

  • การเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ครั้งต่อไป

ในทางทฤษฎี มาตรการทั้งหมดที่ระบุไว้ข้างต้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์และความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ต่างๆ แต่เพื่อให้แน่ใจในผลลัพธ์ ควรตรวจสอบประสิทธิผลของมาตรการด้วยการฝึกซ้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การทดสอบการเจาะระบบ การทำงานเป็นทีม การจำลองเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจริงเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการผสมผสานที่เหมาะสมที่สุดจึงขึ้นอยู่กับองค์กรและมาตรการที่ใช้หลังจากเกิดเหตุการณ์

การนำมาตรการด้านความปลอดภัยและการปรับปรุงทั้งหมดมาใช้ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและเป็นระยะๆ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการประชุมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นประจำเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ หารือเรื่องการนำไปปฏิบัติ จัดการกับความท้าทาย สำรวจการปรับปรุงด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม และติดตามความคืบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ

 

“มาตรการด้านความปลอดภัยหลายชั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดการกับการเติบโตของการโจมตีไซเบอร์ เราพบว่าการโจมตีมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นโดยใช้ APT และช่องโหว่ในซัพพลายเชนที่กำหนดเป้าหมายไปที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและข้อมูลที่ละเอียดอ่อน องค์กรควรเน้นที่มาตรการด้านความปลอดภัยเชิงรุกที่สอดคล้องกับโครงการของรัฐบาล ความร่วมมือในแวดวงอุตสาหกรรม และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งรวมถึงการแบ่งปันคลังข้อมูลภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องโดยใช้ความสามารถในการตรวจจับขั้นสูง เช่น AI และ ML รวมถึงการฝึกอบรมความตระหนักด้านความปลอดภัยแก่พนักงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากฟิชชิงและวิศวกรรมทางสังคม” นายเอเดรียนกล่าวเสริม

‘การป้องกันนั้นดีกว่าการแก้ไขเสมอ’ ทั้งนี้ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำให้ธุรกิจทุกขนาดดำเนินการเพื่อปกป้องระบบจากการถูกละเมิดดังต่อไปนี้

  • ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการใช้ไฟร์วอลล์ ระบบตรวจจับการบุกรุก และซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Kaspersky Next เพื่อปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์
  • สำรองข้อมูลเป็นประจำ หากถูกโจมตี การสำรองข้อมูลจะทำให้สามารถกู้คืนไฟล์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่
  • อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเครือข่าย
  • สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ควรพิจารณาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้นโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือ SIEM (การจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย) เช่น Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform (KUMA) ซึ่งเป็นคอนโซลรวมสำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูล และโซลูชัน Kaspersky Next XDR ซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งซึ่งป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้
  • การให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านเครื่องมือ Kaspersky Automated Security Awareness Platform พนักงานควรตระหนักถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ และวิธีการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ
แคสเปอร์สกี้ระบุ ปี 2024 จำนวนเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 125.91%

อ่านเพิ่ม
Sidebar
TIK TOK
บทความล่าสุด
กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ มองเศรษฐกิจโลก 2025 ฟื้นตัว แม้มีปัจจัยเสี่ยง ชี้ตราสารหนี้และหุ้นยังคุ้มค่าท่ามกลางความผันผวน
กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ มองเศรษฐกิจโลก 2025 ฟื้นตัว แม้มีปัจจัยเสี่ยง ชี้ตราสารหนี้และหุ้นยังคุ้มค่าท่ามกลางความผันผวน
ข่าวการเงิน
Thailand Privilege Card จับมือ ASAVA ปรับโฉมยูนิฟอร์มด้านบริการ ภายใต้คอนเซปต์ GRACE สะท้อนอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยสู่สากล
Thailand Privilege Card จับมือ ASAVA ปรับโฉมยูนิฟอร์มด้านบริการ ภายใต้คอนเซปต์ GRACE สะท้อนอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยสู่สากล
ข่าวธุรกิจ
“เครือสหพัฒน์” จัดสัมมนาเสริมบทบาทคณะกรรมการ ESG เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
“เครือสหพัฒน์” จัดสัมมนาเสริมบทบาทคณะกรรมการ ESG เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
ข่าวธุรกิจ
กสิกรไทยส่งบริการมัดใจตลาดเวียดนาม กวาด 2 รางวัลใหญ่ ระดับนานาชาติ สุดยอดบัตรเครดิตใหม่และสุดยอดธนาคารแห่งใหม่เพื่อเอสเอ็มอีออนไลน์
กสิกรไทยส่งบริการมัดใจตลาดเวียดนาม กวาด 2 รางวัลใหญ่ ระดับนานาชาติ สุดยอดบัตรเครดิตใหม่และสุดยอดธนาคารแห่งใหม่เพื่อเอสเอ็มอีออนไลน์
ข่าวการเงิน
‘พฤกษา’ ตอกย้ำผู้นำด้านอสังหาฯ ผนึกความเชี่ยวชาญด้านการอยู่อาศัย สู่การสร้างชุมชนสุขภาพดี มอบสิทธิพิเศษ และโครงการดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568
‘พฤกษา’ ตอกย้ำผู้นำด้านอสังหาฯ ผนึกความเชี่ยวชาญด้านการอยู่อาศัย สู่การสร้างชุมชนสุขภาพดี มอบสิทธิพิเศษ และโครงการดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568
ข่าวสาร
รีวิวโครงการ
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย วิลล์ ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้าน Design ใหม่ พื้นที่ใหญ่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทุก Lifestyle เป็นส่วนตัวเพียง 66 แปลง ส่วนกลางครบครัน บนทำเลที่โดดเด่น โซนปิ่นเกล้า-ศาลายา
Sponsor
รีวิว บ้านกรีนเฮ้าส์ รังสิต สเตชั่น-ซ.เวิร์คพอยท์ คอนโดแนวคิดใหม่ สไตล์ทาวน์โฮม 2 ชั้น 2 นอน 2 น้ำ บนทำเลรังสิต-ปทุมฯ ใกล้ทางด่วนฯ, โทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต
Sponsor
รีวิว นิรติ ดอนเมือง (NIRATI DONMUEANG) บ้านและทาวน์โฮม NEW SERIES 2.5 ชั้น พร้อมส่วนกลางกว่า 4 ไร่* ที่สุดของทำเลศักยภาพ เพียง 5 นาที* ถึงสนามบินดอนเมือง
Sponsor
Loading..