กรมวิทย์ฯบริการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์สู่มาตรฐาน GAP และ PGS นำร่อง 4 จังหวัดภาคอีสาน

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ขับเคลื่อนการพัฒนาฟาร์มไข่ผำอินทรีย์ต้นแบบให้ได้มาตรฐาน Good Agriculture Practices (GAP) และ Participatory Guarantee System (PGS) และพัฒนาสู่ฟาร์มไข่ผำให้สอดคล้องเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยนำร่องใน 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยยเอ็ด กาฬสินธุ์และ ขอนแก่น เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไทย ระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2568

กรมวิทย์ฯบริการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์สู่มาตรฐาน GAP และ PGS นำร่อง 4 จังหวัดภาคอีสาน

ดร.กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการสถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ (สอช.) วศ. เปิดเผยว่า ไข่ผำ (Wolffia) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “คาเวียร์เขียว (Green Caviar)” เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งบางสายพันธุ์มีปริมาณสูงถึง 48.6% ทั้งยังได้รับการผลักดันให้เป็นพืชยุทธศาสตร์ในหมวดอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงไข่ผำในแหล่งน้ำธรรมชาติบางแห่ง ซึ่งอาจมีความเสี่ยงจากปัญหาการปนเปื้อนจากสารเคมี โลหะหนัก และจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

วศ. ได้ร่วมมือกับ มมส. ในการพัฒนาและยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์ต้นแบบ โดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากภาครัฐและเอกชน พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพสามารถผลิตไข่ผำให้ได้มาตรฐาน GAP และ PGS ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตให้มีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ

คณะนักวิจัย วศ. ได้เข้าพบ ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ รองคณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาฟาร์มต้นแบบ พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและเยี่ยมชมฟาร์มไข่ผำของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในสองพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านเชียงงาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งใช้วิธีเพาะเลี้ยงไข่ผำในบ่อดินโดยใช้แหล่งน้ำธรรมชาติจากเขื่อนลำปาว และวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปพืชสวนและพืชน้ำสำราญโรจน์ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ที่ใช้ระบบบ่อปูนซีเมนต์ซึ่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำบาดาลในการเพาะเลี้ยง การลงพื้นที่ดังกล่าวช่วยให้สามารถประเมินศักยภาพของระบบการเพาะเลี้ยงแต่ละรูปแบบ และหาแนวทางในการพัฒนาฟาร์มต้นแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไข่ผำอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรไทยในการแข่งขันในตลาดอาหารแห่งอนาคต ต่อยอดสู่ความยั่งยืนในภาคเกษตรกรรมของประเทศ

กรมวิทย์ฯบริการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยกระดับฟาร์มไข่ผำอินทรีย์สู่มาตรฐาน GAP และ PGS นำร่อง 4 จังหวัดภาคอีสาน

ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์บริการ

อ่านเพิ่ม
Sidebar
TIK TOK
รีวิวโครงการ
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย วิลล์ ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้าน Design ใหม่ พื้นที่ใหญ่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทุก Lifestyle เป็นส่วนตัวเพียง 66 แปลง ส่วนกลางครบครัน บนทำเลที่โดดเด่น โซนปิ่นเกล้า-ศาลายา
Sponsor
รีวิว บ้านกรีนเฮ้าส์ รังสิต สเตชั่น-ซ.เวิร์คพอยท์ คอนโดแนวคิดใหม่ สไตล์ทาวน์โฮม 2 ชั้น 2 นอน 2 น้ำ บนทำเลรังสิต-ปทุมฯ ใกล้ทางด่วนฯ, โทลล์เวย์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีรังสิต
Sponsor
รีวิว นิรติ ดอนเมือง (NIRATI DONMUEANG) บ้านและทาวน์โฮม NEW SERIES 2.5 ชั้น พร้อมส่วนกลางกว่า 4 ไร่* ที่สุดของทำเลศักยภาพ เพียง 5 นาที* ถึงสนามบินดอนเมือง
Sponsor
Loading..