The Palm (copy)

การ์ทเนอร์คาดการณ์ อีกสองปีข้างหน้า 40% ของการรั่วไหลข้อมูล AI เกิดจากการใช้ GenAI ข้ามประเทศอย่างไม่เหมาะสม

การขาดมาตรฐาน AI ที่สอดคล้องกันทั่วโลก ทำให้องค์กรต้องพัฒนากลยุทธ์เฉพาะในระดับภูมิภาค และยังจำกัดความสามารถการขยายตลาดรวมถึงใช้ประโยชน์จาก AI ได้ไม่เต็มที่ 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ อีกสองปีข้างหน้า 40% ของการรั่วไหลข้อมูล AI เกิดจากการใช้ GenAI ข้ามประเทศอย่างไม่เหมาะสม

การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดว่าภายในปี 2570 ปัญหาข้อมูลรั่วไหลที่เกี่ยวข้องกับ AI มากกว่า 40% เกิดจากการใช้ Generative AI ข้ามประเทศอย่างไม่เหมาะสม 

ความนิยมใช้งาน GenAI ในหมู่ผู้ใช้งานทั่วไปเติบโตเร็วเกินกว่าแนวทางการพัฒนาด้านการกำกับดูแลข้อมูลและมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งสร้างความกังวลอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในประเทศ (Data Localization) เนื่องจากต้องใช้พลังการประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing) สำหรับรองรับเทคโนโลยีเหล่านี้ 

Joerg Fritsch รองประธานนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การถ่ายโอนข้อมูลข้ามประเทศโดยไม่ตั้งใจมักเกิดขึ้นเนื่องจากขาดการกำกับดูแลที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อมีการรวม GenAI เข้าไว้ในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยไม่มีคำอธิบายหรือการประกาศที่ชัดเจน องค์กรต่าง ๆ เริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาที่พนักงานสร้างขึ้นผ่านการใช้เครื่องมือ GenAI แม้เครื่องมือเหล่านี้จะสามารถใช้ในแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่ได้รับอนุมัติ แต่ก็มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหากมีการป้อนคำสั่งที่ละเอียดอ่อนไปยังเครื่องมือ AI และ APIs ที่โฮสต์ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถระบุได้” 

ช่องว่างของการกำหนดมาตรฐาน AI ทั่วโลก นำไปสู่การดำเนินงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

การขาดแนวปฏิบัติที่ดีและมาตรฐานที่สอดคล้องกันทั่วโลกสำหรับการใช้งาน AI รวมถึงการกำกับดูแลข้อมูล ทำให้เกิดความท้าทายเพิ่มขึ้น และเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกตลาด รวมถึงบังคับให้องค์กรต้องพัฒนากลยุทธ์ขึ้นเฉพาะแต่ละภูมิภาค ซึ่งอาจจำกัดความสามารถของการขยายการดำเนินงานไปสู่ระดับโลกและรับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และบริการ AI 

“ความซับซ้อนของการจัดการการไหลเวียนข้อมูลและการรักษาคุณภาพตามนโยบาย AI ในแต่ละประเทศนั้นอาจทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ โดยองค์กรต้องลงทุนด้านการกำกับดูแล AI ขั้นสูงและเพิ่มความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนพร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความจำเป็นนี้อาจผลักดันให้ตลาดบริการด้านความปลอดภัย การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ AI เติบโตยิ่งขึ้น รวมถึงโซลูชันเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความโปร่งใสและการควบคุมกระบวนการทำงานของ AI” Fritsch กล่าวเพิ่มเติม 

องค์กรต้องรีบดำเนินการก่อนที่การกำกับดูแล AI จะกลายเป็นข้อบังคับของโลก

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2570 การกำกับดูแล AI หรือ AI Governance จะกลายเป็นข้อกำหนดของกฎหมายและข้อบังคับ AI ที่มีอำนาจบังคับใช้ทั่วโลก 

“องค์กรที่ไม่สามารถนำโมเดลการกำกับดูแลและการควบคุม AI มาใช้ได้อย่างบูรณาการ อาจเสียเปรียบในการแข่งขันได้ โดยเฉพาะองค์กรที่กำลังขาดทรัพยากรเพื่อการขยายกรอบการกำกับดูแลข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันการเปลี่ยนแปลง” Fritsch กล่าวเพิ่มเติม 

เพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุการรั่วไหลของข้อมูล AI โดยเฉพาะจากการใช้และถ่ายโอนข้อมูล GenAI ข้ามประเทศอย่างไม่เหมาะสม และเพื่อให้เป็นไปตามข้อปฏิบัติตามกฎระเบียบ การ์ทเนอร์แนะนำกลยุทธ์การดำเนินการสำหรับองค์กรไว้ ดังนี้:

 • เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลด้านข้อมูล: องค์กรต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศและตรวจสอบการถ่ายโอนข้อมูลข้ามประเทศโดยที่ไม่ตั้งใจ ด้วยการขยายกรอบการกำกับดูแลข้อมูลให้ครอบคลุมถึงแนวทางสำหรับข้อมูลที่ประมวลผลด้วย AI รวมถึงการประเมินผลกระทบของการสืบย้อนข้อมูลและการถ่ายโอนข้อมูลสำหรับประเมินผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวแบบสม่ำเสมอ 

• จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล: จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเพิ่มการกำกับดูแล AI และมีการสื่อสารที่โปร่งใสเกี่ยวกับการใช้งาน AI และการจัดการข้อมูล โดยคณะกรรมการเหล่านี้ต้องรับผิดชอบการกำกับดูแลทางเทคนิค การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ พร้อมมีการสื่อสารและการรายงานการตัดสินใจ 

• เสริมสร้างความปลอดภัยข้อมูล: ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การเข้ารหัส และการปกปิดตัวตนเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ตัวอย่างเช่น ตรวจสอบพื้นที่การประมวลผลที่ปลอดภัย หรือ Trusted Execution Environment (TEE) ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เฉพาะ และใช้เทคโนโลยีการปกปิดตัวตนขั้นสูง เช่น Differential Privacy เมื่อข้อมูลต้องออกจากภูมิภาคเหล่านี้

• ลงทุนในผลิตภัณฑ์ TRiSM: วางแผนและจัดสรรงบประมาณสำหรับผลิตภัณฑ์และความสามารถด้านการจัดการความไว้วางใจ ความเสี่ยง และความปลอดภัย (TRiSM) ที่ปรับแต่งสำหรับเทคโนโลยี AI รวมถึงการกำกับดูแล AI การกำกับดูแลความปลอดภัยข้อมูล การกรองและแก้ไขคำสั่ง และการสร้างข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างแบบสังเคราะห์ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2569 องค์กรที่ใช้การควบคุม AI TRiSM จะใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมายน้อยลงอย่างน้อย 50% พร้อมลดการตัดสินใจผิดพลาด

การ์ทเนอร์คาดการณ์ อีกสองปีข้างหน้า 40% ของการรั่วไหลข้อมูล AI เกิดจากการใช้ GenAI ข้ามประเทศอย่างไม่เหมาะสม

อ่านเพิ่ม
The Palm (copy)
Sidebar
บทความล่าสุด
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย บุกทำเลสุขุมวิทตอนปลาย เปิดตัวพรีเมียมทาวน์โฮมแบรนด์ใหม่ “โกลดีน่า สุขุมวิท – แบริ่ง” (GOLDINA Sukhumvit – Bearing) ใกล้ BTS แบริ่ง ตอบโจทย์การอยู่อาศัยและการพักผ่อนอย่างแท้จริง
ข่าวสาร
แอสเซทไวส์เตรียมโอน “มารูน รัชดา 32” คอนโดดีไซน์สุดล้ำส่วนกลาง 8 ชั้น 24 ชม. สีสันใหม่บนทำเลทองผืนสุดท้ายในย่านรัชดา 32 เปิดชมตึกจริงครั้งแรก 26-27 ก.ค. นี้
ข่าวสาร
ออริจิ้น ปิดบิ๊กดีล “ออริจิ้น ทองหล่อ เวิลด์” มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท กับ ‘อังเดร คู’ มหาเศรษฐีแห่งไต้หวัน
ข่าวสาร
เอ็น.ซี.เฮ้าส์ซิ่ง ผนึก เอส ซี จี เปิดแคมเปญ ‘บ้านมีโปร’ ดันแบรนด์ เอ็นซี ทิวา เจาะตลาดบ้านเดี่ยวพรีเมี่ยม 8.8 ล้านบาท ตอบโจทย์ชีวิตเหนือระดับ
ข่าวสาร
เบเยอร์เล่นใหญ่! เปิดตัวซีรีส์ “ละครคูลนะเธอ” พร้อม BegerCool 2in1 สีเย็น ทน ไวกว่าเดิม จัดโปรฯแรงรุกตลาดกลางปีแบบไม่มีแผ่ว
ข่าวสาร
รีวิวโครงการ
รีวิว เดอะ ซิกเนเจอร์ สุขุมวิท 77 (The Signature Sukhumvit 77) บ้านหรูระดับ Super Luxury บททำเลอ่อนนุช-ลาดกระบัง
Review
รีวิว เคฟ เพลย์กราวด์ ลาดพร้าว-บดินทรเดชา (Kave Playground Ladprao-Bodindecha) คอนโดใหม่ Fully Furnished ติดบดินทรเดชาฯ ส่วนกลางจัดเต็ม 60 รายการ และโซน Pet-Friendly แยกตึก
Review
รีวิว ศุภาลัย เลค วิลล์ จันทบุรี (Supalai Lake Ville Chanthaburi) บ้านหรูสไตล์ Tropical Modern ใจกลางธรรมชาติริมทะเลสาบกว่า 10 ไร่ พร้อมฟังก์ชันครบครัน รองรับชีวิตระดับพรีเมียมในทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดของจันทบุรี
Review
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Review
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Review
Loading..