อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ โชว์พลังภาคธุรกิจ ฉายศักยภาพผู้ประกอบการภาคเหนือ ครบวงจรการผลิต วิจัย พัฒนา เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรไทยให้มูลค่าสูง พร้อมให้ไทยก้าวสู่ฐานผลิตฟู้ด – ฟังก์ชันนอลฟู้ดระดับโลก ผ่าน 2 งานใหญ่ ‘Fi Asia Thailand 2025’ งานแสดงนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและสารสกัด และ ‘Vitafoods Asia 2025’ งานแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมสารสกัดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เปิดโอกาสประเทศไทยในตลาดใหม่ เตรียมเชื่อมโยงเน็ตเวิร์กธุรกิจ ไทย – ต่างชาติ เพื่อสร้างมูลค่าสินค้ารับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น

นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เปิดเผยว่า อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในฐานะผู้จัดงาน “ฟู้ด อินกรีเดียนท์ เอเชีย 2025” (Food ingredients Asia Thailand 2025) หรือ Fi Asia Thailand 2025 งานแสดงสินค้าเทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านส่วนผสมอาหารอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย และ “ไวต้าฟู้ดส์ เอเชีย 2025” (Vitafoods Asia 2025) งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสกัดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียซึ่งทั้ง 2 งานนี้จัดร่วมกันในพื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ระหว่างวันที่ 17 – 19 กันยายน 2568 นี้
ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตร เกษตรแปรรูป ที่สามารถนำไปทำสารสกัดที่มีมูลค่าสูงได้ ซึ่งในปัจจุบันภาครัฐ และสถาบันการศึกษาในภูมิภาคต่างมีความพร้อมให้การสนับสนุน และพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาร่วมกันไปกับผู้ประกอบการ หากทุกภาคส่วนจับมือไปด้วยกันทำให้สินค้าไทย จากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละภูมิภาคสามารถต่อยอดไปสู่ระดับสากลได้ สำหรับโชว์เคสในภาคเหนือของประเทศไทยก็เช่นกัน เป็นกลุ่มผู้ประกอบการในลักษณะของ Processing Food ที่สามารถผลิตและส่งออกได้เลย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ได้เล็งเห็นศักยภาพของผู้ประกอบการจึงได้จัดงาน ‘Northern Food Ingredients and Nutrition Expo’ เพื่อยกระดับธุรกิจส่วนผสมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากภาคเหนือของไทยสู่เวทีโลก พร้อมกับการแสดงผลงาน พบปะกับผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ ทั้งจากในประเทศไทยและทั่วโลกกับงาน ‘Fi Asia Thailand 2025’ และ ‘Vitafoods Asia 2025’ นี้
เทรนด์ดูแลสุภาพทั่วโลกเติบโตแต่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวสู้ศึกกำแพงภาษี
นางสาวรุ้งเพชร กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากสถาบันด้านสุขภาพสากล หรือ Global Wellness Institute (GWI) ทำการประเมินภาพรวมของเศรษฐกิจด้านการดูแลสุขภาพทั่วโลก มีแนวโน้มขยายตัวอย่างสูงถึง 8.6% ต่อปี จนถึงปี 2570 โดยมูลค่าตลาดที่ GWI ประเมินนั้นสูงกว่า 8.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 306 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ประเทศไทย ภาครัฐตั้งเป้าหมายที่จะเป็นฮับสุขภาพนานาชาติ คาดว่ารายได้จากธุรกิจ Health & Wellness จะมีไม่ต่ำกว่า 8 แสนล้านบาท ในปี 2570
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะเผชิญกับปัญหาการตั้งกำแพงภาษีกีดกันของสหรัฐอเมริกาเช่นกันกับทุกประเทศที่กำลังมีการเจรจาอยู่ในขณะนี้ เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หน่วยงานวิจัยและพัฒนา หน่วยงานต่าง ๆ จากภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้เตรียมตัวให้พร้อมในการผลิตแปรรูปสินค้าจากภาคเกษตรของไทย ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตชั้นดี ให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นจากการแปรรูปด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เชื่อว่าวัตถุดิบในธุรกิจเสริมอาหารหลายอย่างจากประเทศไทยจะมีโอกาสทางการค้ากับประเทศอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ประเทศทางฝั่งยุโรป เอเชีย และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก โดยที่ไม่ได้พึ่งพิงในตลาดใดตลาดหนึ่ง
ยกระดับเกษตรมูลค่าสูง สร้างโอกาสในตลาดใหม่
นางสาวรุ้งเพชร กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นเมืองส่งออกอาหารลำดับต้น ๆ ของโลก และผู้ผลิตมีศักยภาพสูงกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ การจัดงานในลักษณะ International Trade Fair ที่ให้พื้นที่ทางการตลาดกับผู้ประกอบการจะเป็นอีกก้าวที่สำคัญที่ทำให้ต่างชาติและคนไทยด้วยกันได้เห็นถึงศักยภาพ ความสามารถในการเป็นฐานการผลิตฟู้ดและฟังก์ชันนอลฟู้ดระดับโลก (Food and Functional Food) ของไทยที่พร้อมยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูง
“การปรับตัวของธุรกิจไทยท่ามกลางการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กำแพงภาษีใหม่ที่เกิดขึ้น มองว่าภายใต้ความผันผวนนี้ยังมีโอกาสอีกมาก โดยเราสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรมที่เป็น ฟู้ด อินกรีเดียนท์ ให้เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูงขึ้น และยกระดับเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารให้ผู้ประกอบการธุรกิจในไทยเพื่อสร้างโอกาสในตลาดใหม่ได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต” นางสาวรุ้งเพชร กล่าว
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารภาคเหนือ ชูนวัตกรรม มาตรฐานการผลิตระดับสูง
นาย นพดา อธิกากัมพู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 3 ที่ดำเนินธุรกิจค้าขายกระเทียมที่มีประวัติยาวนานถึง 40 ปี จากจุดเริ่มต้นผู้ค้ากระเทียมในจังหวัดลำพูน สู่การเป็นผู้ผลิตกระเทียมดำ ด้วยการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างมูลค่าให้กระเทียม ต่อยอดมาเป็น “ซุปเปอร์ฟู้ดส์”
“จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจครอบครัว จนมาเป็น นพดา ซุปเปอร์ฟู้ดส์ เราได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกันทำงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการนำพาสมุนไพรไทยที่อยู่ใต้ถุนบ้าน ให้เป็นสินค้าในตลาด E-Commerce และส่งสินค้าไปสู่ตลาดโลกบนแพลตฟอร์มอย่าง Amazon.com ซึ่งสินค้าของเราสามารถเอาชนะสินค้าจากประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่นได้”
นอกจากนี้ นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกกระเทียมไม่ต้องกังวลกับราคาที่ขึ้นลงตามสถานการณ์ความไม่แน่นอนของตลาด นวัตกรรมที่นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ พัฒนามาเป็นกระเทียมดำ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกระเทียมได้อย่างมาก
“เราเป็นโรงงานแรก โรงงานเดียวในไทยที่ผลิตกระเทียมดำจนได้รับ อย. และเพิ่มมูลค่าของกระเทียมสดจากกิโลกรัมละ 60 บาท ไปสู่กิโลกรัมละ 1,300 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ไปไกลมากกว่าแค่การผลิตกระเทียมดำ ซึ่งเต้องวิจัยและพัฒนาลึกลงไปถึงระดับอนุภาคของคุณประโยชน์ในระดับโมเลกุล ให้ยังคงอยู่ ซึ่งจะแตกต่างจากการนำกระเทียมสดมาทำอาหาร” นายนพดา กล่าว
บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสินค้าเกษตรหลักอย่างข้าวโพดหวาน ปัจจุบันมีสินค้าประเภท Ready To Eat วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ ด้วยคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานซันสวีท ได้รับการยอมรับจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น
นายวีระ นพวัฒนากร ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าที่เป็นตัวชูโรงคือ ข้าวโพดหวาน ปัจจุบันมีสินค้าวางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ไตัหวัน นี่เป็นจุดที่สร้างความได้เปรียบด้านการขนส่ง เมื่อเทียบกับประเทศในแถบยุโรป ปัจจุบันมีการส่งออก 54 ประเทศ รายได้จากการส่งออกประมาณ 80% และรายได้จากในประเทศ 20%
“เราตั้งเป้าการเติบโตในปีนี้ที่ 10-15% ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นไปได้ เราซัพพอร์ตตามความต้องการของลูกค้า เช่น ลูกค้าญี่ปุ่น ต้องการแพคเกจสินค้าที่มีขนาดพอเหมาะกับการรับประทาน 1 มื้อ ปัจจุบันผลผลิตของเรามาจากคอนแทคฟาร์มมิ่งแบบ 100% โดยมาจากเกษตรกรทางภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคอีสาน แม้ว่าพื้นที่การเพาะปลูก และสภาพภูมิอากาศจะแตกต่างกัน แต่เราสามารถควบคุณผลผลิตให้มีคุณภาพใกล้เคียงกันได้ สิ่งที่เกษตรกรได้รับคือ ราคาที่เรารับซื้อคงที่ เกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับราคาพืชผลการเกษตรที่มีความไม่แน่นอนในบางฤดูกาล นอกจากสินค้าจากข้าวโพดหวานแล้ว ยังมีสินค้าจากผลผลิตการเกษตรอื่นๆ เช่น ถั่วลายเสือ มันหวาน ฟักทอง ที่พัฒนามาเป็นสินค้าพร้อมรับประทาน และส่วนสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ซันสวีท เป็นที่ต้องการของทั้งไทยและตลาดต่างประเทศคือ เราควบคุณคุณภาพของผลผลิตการเกษตรที่อยู่ในระดับมาตรฐาน เครื่องจักรคุณภาพดี และไม่มีสารเคมีตกค้าง” นายวีระกล่าว
พลาดไม่ได้กับ “โอกาสธุรกิจครั้งใหม่” กับการผนึกสองงานคุณภาพงานใหญ่แห่งปี ‘Fi Asia Thailand 2025’ และ ‘Vitafoods Asia 2025’ ไว้ในที่เดียว จัดโดย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ระหว่างวันที่ 17 – 19 กันยายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)