KAVE playground

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้

“โรคลิ้นหัวใจ” นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุและความเสื่อมของลิ้นหัวใจตามวัย ทำให้โรคนี้กลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญ สำหรับประเทศไทยจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย โดยเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน ซึ่งโรคลิ้นหัวใจก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิต นอกจากนี้ข้อมูลทางการแพทย์บ่งชี้ว่าอุบัติการณ์ของโรคลิ้นหัวใจ โดยเฉพาะ “โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ” เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยพบมากขึ้นในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้น ลิ้นหัวใจเอออร์ติกก็อาจเสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ เกิดการสะสมของแคลเซียมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจหนาขึ้น แข็งขึ้น และเปิดได้ไม่เต็มที่ เลือดไหลผ่านได้น้อยลง

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันรณรงค์โรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease Awareness Day) ทั่วโลกจะร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตรายและผลกระทบของโรคดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมการวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ได้มากขึ้น การให้ความรู้และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคลิ้นหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญ

ผศ.นพ.ชนาพงษ์ กิตยารักษ์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Aortic Valve Stenosis) คือภาวะที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติก ซึ่งเป็นลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบแคบลง ลิ้นหัวใจเปิดได้ไม่เต็มที่ การไหลเวียนของเลือดก็จะถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย หน้ามืดเป็นลม มีอาการใจสั่นหรือเจ็บหน้าอก ข้อเท้า เท้าบวม และหัวใจเต้นผิดปกติ หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ เพราะบางอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น โรคปอด โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน หลายคนคิดว่าอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก เป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ คนทำงานหนัก หรือผู้ที่มีความเครียด ทำให้ไม่ได้สงสัยว่าเป็นสัญญาณอันตราย เกิดความเข้าใจผิดและไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ฉะนั้นไม่ควรมองข้าม หากสงสัยควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใกล้ตัว ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลิ้นหัวใจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจร่างกาย การฟังเสียงหัวใจ การเอกซเรย์ทรวงอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) สำหรับการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์และความรุนแรงของโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบมาก การรักษาหลักคือการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก (Surgical Aortic Valve Replacement – SAVR) ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย มีการใช้มาอย่างยาวนานมากกว่า 40 ปีในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่สามารถผ่าตัดแบบเปิดได้ แพทย์อาจพิจารณาการรักษาทางเลือกอื่น เช่น การเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน (Transcatheter Aortic Valve Replacement – TAVR)

ผศ.นพ.ชนาพงษ์ กล่าวว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แพทย์จะมีการพิจารณาในการเลือกชนิดของลิ้นหัวใจเทียมที่เหมาะสมสำหรับที่จะใส่ทดแทนลิ้นหัวใจเดิม ซึ่งจะให้เลือกด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ 1. ลิ้นหัวใจชนิดโลหะ (Mechanical valve) และ 2. ลิ้นหัวใจชนิดเนื้อเยื่อ (Tissue valve) ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกันไป โดยจะพิจารณาเปลี่ยนลิ้นหัวใจตามมาตรฐานสากล เช่น สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา และวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา (AHA/ACC Guideline)

  1. ‘ลิ้นหัวใจชนิดโลหะ’ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า อาจใช้งานได้ตลอดชีวิตโดยที่ไม่ต้องผ่าตัดซ้ำ แต่มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดไปตลอดชีวิต และต้องรับการตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลิ้นหัวใจสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การรับประทานยาละลายลิ่มเลือดต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของยาละลายลิ่มเลือด และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะเลือดออก เช่น การปีนหน้าผาหรือการปั่นจักรยานเสือภูเขา สำหรับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ การเลือกประเภทของลิ้นหัวใจเทียมมีความสำคัญมาก เนื่องจากการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ รวมถึงความผิดปกติของทารกตั้งแต่กำเนิด การแท้งบุตร และภาวะเลือดออกในระหว่างการคลอด
  2. ‘ลิ้นหัวใจชนิดเนื้อเยื่อ’ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด เนื้อเยื่อมีความใกล้เคียงกับลิ้นหัวใจธรรมชาติ มีชนิดที่ทำจากเยื่อบุหุ้มหัวใจวัว (Bovine pericardium bioprosthetic valve) และลิ้นหัวใจหมู (Porcine bioprosthetic valve) โดยหลังการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจชนิดเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นลิ้นหัวใจชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานยาตลอดชีวิต ผู้ที่ต้องการมีบุตร ผู้ที่เดินทางลำบากหรืออยู่ไกลโรงพยาบาล ผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ หรือผู้ที่ทำงานที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและเลือดออกง่าย ข้อพึงตระหนักคือ อายุการใช้งานชนิดเนื้อเยื่ออาจมีความเสื่อม ทำให้ผู้ป่วยอาจมีโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาซ้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาลิ้นหัวใจชนิดเนื้อเยื่อรุ่นใหม่ที่สามารถชะลอการเกิดแคลเซียมเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาในระดับโลกรองรับ

ผศ.นพ.ชนาพงษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แพทย์จะใช้กระบวนการตัดสินใจร่วมกัน โดยพิจารณาตามสภาพของผู้ป่วย โดยอิงตามแนวทางตามมาตรฐาน ซึ่งจะประเมินสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนการผ่าตัด และร่วมกันกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงของโรค อายุ สุขภาพโดยรวม และความเสี่ยงในการผ่าตัด และกายวิภาคของหัวใจ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้ารับการรักษาต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกายและหัวใจตามความเหมาะสมและพื้นฐานสุขภาพของผู้ป่วย โดยเริ่มจากการทำกิจกรรมเบาๆ จากนั้นผู้ป่วยจะค่อยๆ กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกครั้ง

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้

อ่านเพิ่ม
The Palm (copy)
Sidebar
บทความล่าสุด
“ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้” (TITLE) เดินหน้าบุกตลาด Luxury Villa ครั้งแรก ส่งโครงการใหม่ “THE TITLE VILLA ESTELLA NAIYANG” (เดอะ ไทเทิล วิลล่า เอสเตลลา ในยาง) ปักหมุด Rare Location ใกล้หาดในยาง ใช้ชีวิตสุดเอ็กซ์คลูซีฟยิ่งกว่า เพียง 26 ยูนิต
ข่าวสาร
ครม.ไฟเขียวมาตรการอสังหาฯ ลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนอง เหลือ 0.01% บ้าน-คอนโดไม่เกิน 7 ล้านบาท
ข่าวสาร
“วอลล์ เทคโนโลยี” เบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมแผ่นฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป พลิกโฉมวงการด้วยนวัตกรรม PIR มาตรฐานโลก รายแรกในไทย จัดงานขอบคุณลูกค้า ฉลองความสำเร็จ พร้อมเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืน
ข่าวสาร
“พฤกษา” เดินหน้าผนึกพันธมิตรรอบด้าน เคียงข้างลูกบ้าน บรรเทาเหตุแผ่นดินไหว ใส่ใจครบวงจร
ข่าวสาร
“เสนาฯ ส่งต่อ ‘คู่มือป้องกันภัยพิบัติ’ จากญี่ปุ่น เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน”
ข่าวสาร
รีวิวโครงการ
รีวิว เคฟ เพลย์กราวด์ ลาดพร้าว-บดินทรเดชา (Kave Playground Ladprao-Bodindecha) คอนโดใหม่ Fully Furnished ติดบดินทรเดชาฯ ส่วนกลางจัดเต็ม 60 รายการ และโซน Pet-Friendly แยกตึก
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เลค วิลล์ จันทบุรี (Supalai Lake Ville Chanthaburi) บ้านหรูสไตล์ Tropical Modern ใจกลางธรรมชาติริมทะเลสาบกว่า 10 ไร่ พร้อมฟังก์ชันครบครัน รองรับชีวิตระดับพรีเมียมในทำเลศักยภาพที่ดีที่สุดของจันทบุรี
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย ริเวอร์ วิลล์ ระยอง (Supalai River Ville Rayong) บ้านเดี่ยวหรู สไตล์ Modern Tropical Series ฟีลดีติดริมแม่น้ำ ทำเลคุณภาพใจกลางเมืองระยอง
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย เบลล่า พระราม 2-วงแหวน ครบครันทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮม ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองยุคใหม่ในโซนพระราม 2-สมุทรสาคร
Sponsor
รีวิว ศุภาลัย วิลล์ ปิ่นเกล้า-ศาลายา บ้าน Design ใหม่ พื้นที่ใหญ่ ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทุก Lifestyle เป็นส่วนตัวเพียง 66 แปลง ส่วนกลางครบครัน บนทำเลที่โดดเด่น โซนปิ่นเกล้า-ศาลายา
Sponsor
Loading..