จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจ.ชลบุรี มีมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจ.ระยองมีมูลค่า 10,000-12,000 ล้านบาท แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2564-2566) ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจ.ระยอง เติบโตอย่างมาก ซึ่งได้รับอานิสงส์จากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่จากภาครัฐเข้ามาต่อเนื่อง ส่งผลให้จ. ชลบุรี มูลค่าตลาดอสังหาฯปรับขึ้นมาอยู่ระดับ 80,000 ล้านบาท ขณะที่ จ.ระยอง มูลค่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว มาอยู่ระดับ 25,000 ล้านบาท มีมูลค่า 25,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ของทั้งสองจังหวัดรวมกัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณเกือบ 20% ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลนั้น มีมูลค่าประมาณ 450,000 ล้านบาท
ตั้งเป้า 5 ปีรายได้ในระยองแตะพันล้าน
ไพโรจน์ วัฒนวโรดม กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด(มหาชน) (ESTAR) กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในโซนปลวกแดง บ้านฉาง และนิคมพัฒนาของจ.ระยอง มีมูลค่า 23,178 ล้านบาท ซึ่ง ESTAR ครองส่วนแบ่งอยู่ประมาณ 3% ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในโซนบ้านฉาง มีมูลค่า 2,752 ล้านบาท ในจำนวนนี้ ESTAR ครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ราว 25% หรือมีรายได้ 698 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะทำรายได้เกินกว่า 700 ล้านบาท เนื่องจากภายในพื้นที่ บ้านฉาง มีโครงการของบริษัทอยู่ 4 โครงการ มีระดับราคาบ้าน ตั้งแต่ 3 ล้านบาท ไปจนถึง 12 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5% ซึ่งตามแผนธุรกิจภายใน5ปีข้างหน้า (ปี 2567-2571) จะยังคงทำสถิติใหม่ มาอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดอสังหาฯในโซนบ้านฉาง มีมูลค่าตลาด 2,752 ล้านบาท ในนี้ ESTAR ครองส่วนแบ่งการตลาด 25% หรือมีรายได้ประมาณ 698 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะปิดตัวเลขได้เกินกว่า 700 ล้านบาท เนื่องจากภายใน
โดย STAR ได้มีการสะสมที่ดินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ใน จ.ระยอง ประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นที่ดิน ในอำเภอบ้านฉาง และถนนบูรพาพัฒน์ ประมาณ 500 ไร่ โดยที่ดินรอบสนามกอล์ฟอีสเทอร์น สตาร์ แอนด์ รีสอร์ท ยังมีที่ดินประมาณ 250 ไร่ มีแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ถึง 5 โครงการ (ซึ่งก่อนหน้าปิดไปแล้ว 6 โครงการ) และเป็นที่ดินในทำเลหนองบอน 500 ไร่ โดยที่ดิน 1,000 ไร่ มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งยังสามารถรองรับการพัฒนาโครงการได้ต่อเนื่องไปอีก 10 ปี
“โซนระยอง – บ้านฉาง เป็นทำเลมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมและประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น อีกทั้งยังมีเส้นทางคมนาคมที่หลากหลาย โดย เฉพาะสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาที่ตอนนี้กำลังจะมีโปรเจกต์ในการสร้างส่วนต่อขยาย อีกทั้งยังมีโครงการใน อนาคตที่เป็นเมกะโปรเจกต์ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เชื่อม กทม. สู่ EEC คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2029 การเดินทางที่สะดวก จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น การจ้างงานในอุตสาหกรรมต่อเนื่องกว่า 1 แสนตำแหน่ง ทำให้ความต้องการอสังหาฯมีอย่างต่อเนื่อง”ไพโรจน์กล่าว
ปัจจุบัน ESTAR มีโครงการที่เปิดใหม่ ได้แก่ โครงการเธร่า พรีม่า บูรพาพัฒน์-สุขุมวิท บ้านแฝด จำนวน 196 ยูนิต เริ่มต้น 2.59 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 600 ล้านบาท ปัจจุบันทำยอดขายได้แล้ว 75% ของเฟสแรก เช่นเดียวกับโครงการ บรีซ ชาเล่ต์ บูรพาพัฒน์-สุขุมวิท บ้านเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 134 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 3.89 ล้านบาท สามารถสร้างยอดขายไปแล้ว 80% พร้อมกับโครงการบ้านในสนามกอล์ฟ โครงการอะโมด้า อู่ตะเภา-บ้านฉาง บ้านเดี่ยว จำนวน 104 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 5 ล้านบาท สร้างยอดขายสูงเกือบ 100% และเพื่อตอบรับความต้องการผู้อยู่อาศัย ทางอีสเทอร์น สตาร์ ได้ขยายโครงการเพิ่ม ในชื่อ เวลาน่า ไฮด์ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น 128 ยูนิต มูลค่าโครงการ 780 ล้านบาท และยังคงเน้นกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่มผู้บริหาร บริษัทในนิคมฯ มาบตาพุด กลุ่มหมอ และพนักงานสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งแต่ช่วงวัยทำงาน อายุ 30-55 ปี รายได้เดือนละ 7 หมื่น – 3 แสนบาท ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่ามี กำลังซื้อศักยภาพ
ปี 67 เพิ่มสัดส่วนเปิดโครงการระดับ 5 ล้านขึ้นไป
ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า สำหรับแผนในปี 2567 บริษัทมีแผนซื้อที่ดินเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม 3 แปลง มูลค่ารวม 600 ล้านบาท (แปลงละประมาณ 200 ล้านบาท) แบ่งเป็นที่ดินในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2 แปลง และในพื้นที่ EEC อีก 1 แปลง และในอีก 5 ปีข้างหน้า หลังสนามบินอู่ตะเภาส่วนต่อขยายแล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้ที่ดินบริเวณรอบๆ สนามบินราคาพุ่งสูงขึ้น จนทำให้ราคาบ้านแนวราบขยับตัวขึ้นไปสูงมาก บริษัทยังมีแผนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม Low Rise ในจัดหวัดระยอง บนที่ดินของบริษัทที่อยู่ติดกับโรบินสัน บ้านฉาง 1 แปลง และที่ดินแปลงที่อยู่ฝั่งตรงข้ามโลตัส บ้านฉาง อีก 1 แปลง ด้วย
โดยโครงการเปิดใหม่ปีหน้า บริษัทฯ มุ่งเน้นเปิดตัวโครงการในระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปมากขึ้น และปรับลดการเปิดตัวโครงการระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทลงมา เพราะมีความกังวลในเรื่องอัตราการปฏิเสธสินเชื่อของตลาดระดับ 3 ล้านบาทมีเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ตลาดระดับราคา 5-10 ล้านบาท ยังมีการเติบโตของดีมานด์ที่ดีต่อเนื่อง
โดยในปี 2567 คาดว่าสัดส่วนของสินค้ากลุ่มสินค้าในระดับราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 80% จากปัจจุบันที่มี 75% และสัดส่วนของสินค้าระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท จะลดลงเหลือ 20% จากปัจจุบันที่มี 25% พร้อมวางแผนเปิดโครงการใหม่ 2 โครงการในปี 2567 ในกรุงเทพฯ ที่จะพัฒนาเป็นทาวน์โฮมและบ้านเดี่ยว ส่วนคอนโดมิเนียมจะชะลอการพัฒนาออกไปก่อน