หน้าแรก >บทความ
<div><div>
<img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/post/content/2022/11/1e85b739-6f39-4a61-aee2-20dd7a468c24.png"
width="600"
height="400"
alt="Homeday"
style="width: 100%; height: "
class="rounded-t" />
</div><div><p><b> กำลังเป็นประเด็นร้อนกันอยู่ในตอนนี้ สำหรับที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ต่างชาติศักยภาพสูงเข้ามาลงทุนในประเทศไทย 40 ล้านบาท เพื่อแลกกับการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ และกำลังจะขยายเพดานการซื้อห้องคอนโด จากอดีตที่ทั้งชุดอาคารนั้น ต่างชาติจะสามารถซื้อได้เพียง 49% ของจำนวนห้องทั้งหมด และอื่น ๆ ซึ่งเราก็ต้องติดตามข่าวสารกันต่อไปค่ะ แต่สำหรับวันนี้ ทาง Homeday จะมาเล่าถึงข้อจำกัดของการครอบครองบ้านในไทยสำหรับชาวต่างชาติ ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง และในอนาคตหากครม.ผ่านจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง พร้อมเปิดข้อดีและข้อเสีย ให้ทุกคนได้รับทราบกันค่ะ</b></p></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /><div><h4 style="color: #3cbb8f; text-align: left;">เงื่อนไขต่างชาติซื้อบ้านในไทยปัจจุบัน</h4><div>
<img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/post/content/2022/11/1e03ff28-02af-4d24-b55d-1c193ed0ae29.png"
width="600"
height="400"
alt="Homeday"
style="width: 100%; height: "
class="rounded-t" />
</div><div><p><span style="font-weight: 400;"> คุณสมบัติของชาวต่างชาติ ที่สามารถซื้อบ้านในไทยได้จะต้องมีคุณสมบัติทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูง, กลุ่มที่เกษียณอายุจากต่างประเทศ, กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และกลุ่มที่เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทย</span></p><ol><li><b>เงื่อนไขในการถือครองอสังหาฯ ประเภทโครงการคอนโดมิเนียม :</b><span style="font-weight: 400;"> ชาวต่างชาติจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายกำหนดได้ไม่เกิน 49% ของยูนิตทั้งหมด เช่น หากโครงการมีทั้งหมด 1,000 ยูนิต จะสามารถขายให้ชาวต่างชาติได้เพียง 490 ยูนิต<br /><br /></span></li><li><p><b>สำหรับที่ดิน :</b><span style="font-weight: 400;"> เงื่อนไขจะมีความแตกต่างออกไป</span></p><ul><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ชาวต่างชาติจะสามารถครอบครองที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ </span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ต่างชาติสามารถซื้อที่ดินกับผู้ขายที่มีชื่ออยู่ในเอกสารแสดงสิทธิ์เท่านั้น หากมีการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ผู้ขายจำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ชาวต่างชาติที่จะซื้อที่ดินในไทย ต้องนำเงินมาลงทุนในไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนอยู่นานไม่น้อยกว่า 5 ปี ต้องเป็นธุรกิจที่กฎหมายกำหนด เช่น </span><ul><li style="font-weight: 400;" aria-level="2"><span style="font-weight: 400;">การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตธรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นหรือดอกเบี้ย</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="2"><span style="font-weight: 400;">การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="2"><span style="font-weight: 400;">การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="2"><span style="font-weight: 400;">การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน</span></li></ul></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ต้องเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ที่ดินที่ชาวต่างชาติจะซื้อ จะต้องอยู่ในเขต กทม. เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตอยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหาร</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดิน ต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อการอยู่อาศัยสำหรับตนเองเท่านั้น หากทำผิดเงื่อนไข หรือนำที่ดินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น มีสิทธิ์ถูกดำเนินการให้ขายคืนได้<br /></span></li></ul></li><li><b>คู่สมรสเป็นคนไทย :</b><span style="font-weight: 400;"> ชาวไทยถือสัญชาติไทยที่คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ มีสิทธิ์ซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวได้ แต่ไม่สามารถซื้อเป็นสินสมรสได้ โดยต้องเซ็นเอกสารยืนยันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินเป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกัน ว่าเงินทั้งหมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว </span></li></ol></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /><div><h4 style="color: #3cbb8f; text-align: left;">มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ในลักษณะผู้พำนักระยะยาว (long-term stay) แผนระยะ 5 ปี (2565-2569)</h4><div>
<img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/post/content/2022/11/bf01aadd-9346-4296-9b56-79c99f713def.png"
width="600"
height="400"
alt="Homeday"
style="width: 100%; height: "
class="rounded-t" />
</div><div><ol><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><b>การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว : </b><span style="font-weight: 400;">กำหนดวีซ่าประเภทใหม่ให้กับกลุ่มของชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง (ทั้ง 4 กลุ่มในข้างต้น) ซึ่งจะได้ข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การยกเว้นให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักอาศัยระยะยาวและวีซ่าประเภท Smart visa ทั้งหมด ไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบหากอยู่ในประเทศเกิน 90 วัน</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><b>การแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง : </b><span>เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน การบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถทำงานให้นายจ้างทั้งที่อยูในและนอกราชอาณาจักรได้ การยกเว้นหลักเกณฑ์การกำหนดให้การจ้างคนต่างด้าว 1 คน ต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน การยกเว้นภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร</span></li></ol></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /><div><h4 style="color: #3cbb8f; text-align: left;">สิทธิประโยชน์ที่ต่างชาติ 4 กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ แผนระยะ 5 ปี (2565-2569)</h4><div><ol><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">สิทธิประโยชน์ วีซ่าผู้พำนักระยะยาวใหม่ (LTR visa) อายุ 10 ปี รวมถึงผู้ติดตาม หรือคู่สมรสและบุตร</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ยกเว้นไม่ต้องไปรายงานตัวทุก 90 วัน</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">สามารถถือครองห้องชุดและบ้านจัดสรรในโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่ที่กำหนด</span></li></ol></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /><div><h4 style="color: #3cbb8f; text-align: left;">ข้อดี-ข้อเสีย สำหรับมาตรการดึงต่างชาติ ซื้อที่ดิน-บ้าน-คอนโด ในไทย</h4><div>
<img src="https://pjyjntwzszymfzyqkfvu.supabase.co/storage/v1/object/public/post/content/2022/11/76bfc4f7-8ea4-453a-aed3-a401e9021c0b.png"
width="600"
height="400"
alt="Homeday"
style="width: 100%; height: "
class="rounded-t" />
</div><div><p><b>ข้อดี</b></p><ol><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">เพิ่มปริมาณใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาท</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">เพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท สร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพียงพอให้กับภาคธุรกิจที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ในประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต และโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล</span></li></ol></div><div><p><b>ข้อเสีย</b></p><ol><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">เม็ดเงินที่จะเข้ามาจากกฎกระทรวงนี้ จะไม่มีผลไม่มาก และลงไปยังตลาดทุนมากกว่ากระจายสู่ภาคธุรกิจและรากหญ้า</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ไม่แก้ปัญหาการซื้ออสังหาฯ ผ่านนอมินี ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">เสี่ยงเรื่องการลักลอบเข้ามาประกอบธุรกิจสีเทา</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">อสังหาฯ ราคาพุ่ง ส่งผลให้คนไทยซื้อที่ดิน บ้าน และคอนโดได้ยากมากขึ้น</span></li><li style="font-weight: 400;" aria-level="1"><span style="font-weight: 400;">ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำของคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นหลายเท่า</span></li></ol></div><div><p><span style="font-weight: 400;"> เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2565 มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ลงนามคำสั่งของถอนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. … ออกจากมติ ครม.ที่ได้มีการอนุมัติหลักการไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565 ที่ผ่านมา เพื่อนำกลับไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนให้รอบคอบก่อนและฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะนำมาสรุปพิจารณาและเสนอ ครม.ต่อไป</span></p></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /><div><div><p><b> แม้จะยังไม่มีร่างกฎหมายที่ชัดเจนออกมา แต่ทางรัฐบาลก็จะนำความเห็นของทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่เห็นต่าง มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อสร้างความสมดุลและเพื่อเลือกทางที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยให้ได้มากที่สุด ก็ต้องมาติดตามผลกันต่อไปค่ะ ว่าในท้ายที่สุดแล้ว มาตรการดึงต่างชาติ จะมีรายละเอียดและเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หากมีการอัปเดต ทาง Homeday จะนำข้อมูลมาฝากทุกคนกันอย่างแน่นอนค่ะ</b></p></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " /></div><div style="height: 0; width: "100%"; backgroundColor: " />
Homeday